Skip to main content

เงินเยนจะอ่อนไปถึงไหน

14 พฤษภาคม 2556

   วันนี้ลองเป็นดูค่าเงินเยน เทียบกับเงินบาทแล้วตกใจเล็กๆน้อยๆ ว่ามันจะอ่อนไปไหน เพราะผ่านมาครึ่งปีค่าเงินบาท เทียบกับเยนแล้วแข็งขึ้นมากว่า 23.63% ถ้าคิดแบบเป็นปีแบบที่พวกแบงค์ชอบโฆษณาก็ต้องบอกว่า ให้ผลตอบแทนมากกว่า 47% ต่อปีกันเลยที่เดียว

  รูปประกอบที่1 ค่าเงินเยนเทียบกับเงินบาทในช่วงอาทิตย์นี้ (พุ่งมาอยู่ที่ประมาณ 3.425เยน ต่อบาท)


 
   รูปประกอบที่2 ค่าเงินเยนเทียบกับเงินบาทในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา การฟพุ่งกันไม่หยุดเลยแข็งไป 23.63%


   เราไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก เลยไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่ามันจะแข็งกันไปได้อีกนานมาน้อยแค่ไหน แล้วทำไมเงินเยนมันถึงได้อ่อนนัก หรือเงินบาทมันแข็งมากเกินไป ถ้าอยากเข้าใจมากขึ้นอีกนิด เราต้องไปดูว่าประเทศญึ่ปุ่นตอนนี้กำลังทำอะไรกับค่าเงินของตัวเองอยู่

  คนที่จะรู้ดีที่สุดก็น่าจะเป็นคุณลุง ชินโซะ อาเบะ (Mr.Shinzo Abe) ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น ที่มีแผนจะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยการ ใช้หลัก 3 ศรหลัก

  • กำหนดอัตราเงินเฝ้อไว้ที่ 2% (ทำโดยการอัดเงินเข้ามาในระบบอย่างล้นเหลือ กดดันให้มีเงินเฝ้อเกิดขึ้น)
  • พยายามทำให้ดอกเบี้ยใกล้ 0 เพื่อกดดันให้มีการใช้จ่ายเงินลงทุนจากภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้น
  • เพิ่มความยึดหยุ่นให้กับงบประมาณ เพื่อกระตุ้นการผลิตและบริโภค จากภาครัฐบาล


   จากเบื้องหลังดังนี้ จะเห็นได้ว่าแนวโน้มค่าเงินเยนจะอ่อนลงไปอีก ด้วยความหวังว่าค่าเงินที่อ่อนลงนั้นจะทำให้สินค้าจากประเทศญึ่ปุ่นมีราคาที่ถูกลง รวมถึงการเข้าไปท่องเที่ยวที่ญึ่ปุ่นก็มีแนวโน้มว่าราคาจะถูกลง เมื่อราคาถูกลง คนก็เข้าไปเที่ยวกันมาก เมือเข้ามาเที่ยวกันมา ก็ต้องมีการใช้สินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้องมีการผลิต การจ้างงานมากขึ้น คนมีรายได้มากขึ้น ก็จับจ่ายมากขึ้นไปด้วย เป็นลูกโซ่กันไป

  สิ่งที่น่าห่วงน่าจะเป็นหากแผนนี้ไม่สำเร็จผลกระทบกับคนญี่ปุ่นเองที่เก็บออมมาตลอดชีวิตก็คือ จะเหลือเงินที่มีมูลค่าน้อยลง และรัฐบาลก็อาจจะมีปัญหาเรื่องการบริหารหนี้สาธารณะได้ในอนาคต ประเทศไทยก็ต้องระวังเหมือนกัน เพราะปัญหาของเราก็ไม่ค่อยจะเหมือนของญี่ปุ่นที่มีเงินแต่ไม่กล้าใช้ กลัวไปหมด ของพี่ไทยเราออกจะตรงกันข้ามคือ กล้าใช้กันจริงเงินที่ยังมาไม่ถึง ผลไม้ยังไม่สุกเลย แค่ติดดอกก็ ไปหยิบยืมเอามาใช้กันแล้ว อันนี้น่าจะน่ากลัวกว่านะครับ




Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma