Skip to main content

หนูไม่อยากไปโรงเรียน


   ลูกสาวเพิ่งเข้าอนุบาล1 ร้องไม่อยากไปโรงเรียน ร้องไห้ทุกเช้าบอกแต่อยากจะอยู่บ้านกับแม่ ไอ้เราก็ถามว่าหนูเป็นอะไร มีปัญหาอะไรที่โรงเรียนหรือเปล่า คุณครูดุ หรือตึมั้ย หรือว่าโดนเพื่อนๆ แกล้ง ไม่มีเพี่อนเล่นด้วยหรือเปล่า เป็นห่วงไปร้อยแปด ห่วงไปหมด ถามไปก็ตอบไปเรื่อยๆ ไม่รู้เรื่อง เอาแต่ร้องหนูจะอยู่กับแม่

   สุดท้ายจึงตัดสินใจต้องใช้วิธีนี้แล้วแหละ ดักฟังมันซะเลย จะได้รู้ว่าตอนอยู่ที่โรงเรียนมีปัญหาอะไรกับใครมั้ย (ไม่ได้จะหาเรื่องครู หรือเพื่อนหรอกนะ แค่อยากรู้) คิดได้อย่างนี้ไม่รอช้า รีบไปแสวงหาเครื่องอัดเสียงมาโดยพลัน


(ค่าเสียหาย ประมาณ 700 บาท)


   อ่านคู่มือเล็กน้อย (ความจริงไม่มีอะไรในคู่มือเลย แค่เปิดเครื่องอย่างไร ชาร์จอย่างไร แค่นั้น) ว่าแล้วก็เอาเลยทดสอบกันเลย วางเครื่องอัดเสียงใสกระเป๋านักเรียน เปิดเครื่องทิ้งไว้เลย เพราะแบตอยู่ได้นานกว่า 8 ชั่วโมงไม่ใช่ปัญหา ตอนแรกก็ยังกลัวๆอยู่ว่าจะได้ยินเสียงมั้ยนะ จะฟังออกมั้ยนะ จะชัดเจนมั้ย ต่างๆนาๆ แต่ก็ซื้อมาแล้วนี้นะ ยังไงก็ต้องใช้ได้แหละ

   วันนี้ก็ไปส่งตามปกติ ร้องไห้งอแงตามปกติ "หนูจะอยู่กับแม่" ร้องงอแงเสียงดังไปหมด เหมือนปกติ พ่อแม่ทุกคนก็คงรู้สึกเหมือนกันคือ เป็นห่วงกลัวลูกจะร้องไห้นาน ไม่รู้จะหยุดร้องเมื่อไหร่ จากการใช้เครื่องอัดเสียงนี้มาตรวงสอบดูพบว่า ลูกเราใช้เวลาประมาณ 30 วินาที หลังจากที่แยกกับผม หยุดร้อง แล้วใช้เวลาอีกประมาณ 30 วินาที เพื่อไปร้องเพลงเล่นกับเพื่อนๆ เออ เด็กนี้หนาปรับตัวเร็วจริงๆเลย ปล่อยให้พ่อแม่เป็นห่วงตั้งนาน นึกว่ามีปัญหากับเพื่อน

   ส่วนเรื่องคุณครูดุ ก็ตามคาดดุจริง แต่ก็ไม่ใช่เป็นยักษ์ เป็นมารอะไร เรื่องที่ดุก็ดูสมควรดีไม่ได้มากอะไรเกินไป เป็นธรรมดา โดยส่วนตัวผมว่าครูดุหน่อยน่าจะดีกับ เด็กในอนาคต (เพราะเหมือนกับเราในอดีต ที่ครูดุมาก แล้วเราก็โตมาเป็นคนดีพอสมควรล่ะนะ) ก็ตัดไป

   สรุปว่าลูกเราไม่มีปัญหาอะไรที่โรงเรียน ร่วมกิจกรรมทุกอย่าง ไม่ร้องไห้ในระหว่างที่เรียน คิดว่าน่าจะแค่ร้องอ้อนพ่อแม่ตอนเช้าเท่านั้น

(ถ้าหาวิธีลง คลิปเสียงได้จะเอามาลงอีกทีนะครับ)

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma