การฝึกสอน (Coaching) เป็นการบวนการฝึกสอนโดยเน้นการทำงานร่วมกัน โดยผู้ที่ทำหน้าที่ฝึกสอนนั้นจะต้องให้เน้นไปที่การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน กล่าวคือผู้ทำการฝึกสอนนั้นจะต้องสร้างภาพเป้าหมาย ร่วมไปถึงแนวปฏิบัติเพื่อจะให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้นๆ รวมถึงจะต้องทำการระบุความก้าวหน้า และรายงานให้คนในทีมได้รับทราบ
เครื่องมือในการฝึกสอน (Coaching).
- เน้นความสำคัญไปที่เป้าหมาย มากกว่าปัญหา (แน่นอนว่าสำหรับเรื่องคอขาดบาดตายนั้นจะต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม แต่ถ้าเป็นสถานะการปกติแล้ว เราจะต้องเน้นไปที่เป้าหมายในการฝึกสอนเป็นหลัก
- จงฟังให้มากกว่าพูด (เรื่องยากสำหรับหัวหน้างานหลายๆคน)
- จงใช้การถามคำถาม มากกว่าการสั่งให้ไปทำ เพราะเป้าหมายของการฝึกสอน คือให้ลูกน้องนั้นมีความสามารถมากขึ้น ดังนั้นเราจะต้องให้โอกาสพวกเขาในการวิเคราะห์ สิ่งที่ต้องทำมากกว่าการไปสั่งให้ทำที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้ความคิดวิเคราะห์อะไรเลย
- จงอย่าวิจารย์ในสิ่งที่ลูกน้องได้ทำไป แต่จงให้ข้อคิดจากสิ่งที่คุณเห็น (แยกกันไม่ออกอีกล่ะ ข้อคิดเห็นที่หัวหน้ามักจะเห็นก็คือ ข้อที่ต้องตำหนิล่ะนะ ง่ายๆคือ อย่าพยายามใส่อารมย์ของเราเข้าไปมากเกิน)
โดยสรุป
- จงอย่าพยายามควบคุมลูกน้องไปซะหมดทุกอย่าง แต่ให้พยายามให้ลูกน้องรู้สึกว่า นี้เป็นการทำงานร่วมกัน
- จงพยายามให้ความรับผิดชอบแก่ลูกน้องให้มากขึ้น (แต่เราจะปฏิเสธความรับผิดชอบไปไม่ได้)
- จงฟังให้มากขึ้น และแน่นอนจงพูดให้น้อยลง
- จงถามคำถามให้มาก แต่จงออกคำสั่งให้น้อยลง (เพื่อให้ลูกน้องได้มีช่องว่างในการคิด)
- จงให้ข้อคิด โดยมีพื้นฐานมาจากสิ่งที่เห็น (เป็นจริง) แต่จงอย่าโวยวายใส่ลูกน้อง (แน่นอนว่าถ้าสิ่งที่ทำมันผิดแบบให้อภัยไม่ได้ มันก็ต้องมีลุยกันล่ะ)
ดังนั้น ในฐานะหัวหน้างาน หรือผู้จัดการนั้น เรามีหน้าที่ที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ก็คือการฝีกลูกน้องให้มีความสามารถที่มากขึ้น
ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องลงทุนทั้งเวลา ทั้งแรงกาย แรงใจ เพื่อฝึกลูกน้องขึ้นมา
แน่นอนว่าในกรณีที่เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย จำเป็นต้องได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม ทันกับเวลา เราจำเป็นที่จะต้องใช้การออกคำสั่ง แต่ถ้าหากเป็นกรณีปกติแล้ว การให้อิสระในการคิด และลงมือทำโดยลูกน้องนั้นเป็นสิ่งที่ หัวหน้างาน หรือผู้จัดการอย่างเราๆ ควรทำ
ผลดีไม่ได้มีแค่ลูกน้อง มีความสามารถสูงขึ้นเท่านั้น แต่เรายังสามารถมีเวลาเพื่อไปจัดการกับงานที่มีความสำคัญมากกว่าได้อีกด้วย (ยิงปีนนัดเดียวได้นกมา สอง สามตัวเลย)
ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องลงทุนทั้งเวลา ทั้งแรงกาย แรงใจ เพื่อฝึกลูกน้องขึ้นมา
แน่นอนว่าในกรณีที่เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย จำเป็นต้องได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม ทันกับเวลา เราจำเป็นที่จะต้องใช้การออกคำสั่ง แต่ถ้าหากเป็นกรณีปกติแล้ว การให้อิสระในการคิด และลงมือทำโดยลูกน้องนั้นเป็นสิ่งที่ หัวหน้างาน หรือผู้จัดการอย่างเราๆ ควรทำ
ผลดีไม่ได้มีแค่ลูกน้อง มีความสามารถสูงขึ้นเท่านั้น แต่เรายังสามารถมีเวลาเพื่อไปจัดการกับงานที่มีความสำคัญมากกว่าได้อีกด้วย (ยิงปีนนัดเดียวได้นกมา สอง สามตัวเลย)
Comments
Post a Comment