Skip to main content

ทำน้อยให้ได้มาก - The Power of LESS

ผู้เขียน  :  Leo Babauta
ISBN  :  978-616-7164-67-0
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2009
จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์วีเลิร์น - WeLearn
จำนวนหน้า  :  190 หน้า
ราคา  :  170 บาท




สรุปเนื้อหาสำคัญ

   เป็นหนังสือที่นำเสนอแนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการทำที่เน้นให้เกิดประสิทธิผลให้มากที่สุด ด้วยการเน้นทำเป็นเรื่องๆ จัดการให้เสร็จที่ละอย่าง โดยผู้เขียนมีการยกตัวอย่างต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเห็นภาพได้มากที่สุด


หลักการ 6 ข้อในการทำน้อยให้ได้มาก

1.)  สร้างข้อจำกัด (อย่าปล่อยให้ทุกๆอย่าง เกิดขึ้นอย่างไม่มีข้อจำกัด)

2.)  เลือกแต่สิ่งที่สำคัญ (เราไม่สามารถที่จะทำทุกอย่างทั้งหมดได้ จงเลือกซะ)

3.)  ทำให้เรียบง่ายขื้น (อย่าทำสิ่งต่างๆ ให้สลับซับซ่อน)

4.)  จดจ่อ (จงทำสิ่งที่เลือกแล้ว อย่างจดจ่อ ไม่ว้อกแว้ก)

5.)  สร้างนิสัย (ง่ายๆ พยายามทำมันอย่างต่อเนื่อง)

6.)  เริ่มจากสิ่งเล็กๆ หรือง่ายๆ (การทำสิ่งที่ยากเกินไป จะทำให้หมดกำลังใจได้ และมันจะทำให้เราล้มเลิกได้ง่ายกว่าที่เราคิด)


คำแนะนำในการทำงาน

1.)  การทำงานหลายๆอย่างพร้อมๆกัน จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และจะทำให้เกิดความซับซ้อนในการทำงาน แล้วจะส่งผลให้เกิดความเครียดในที่สุด

2.)  ให้ทำงานที่สำคัญที่สุดเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า

3.)  ถ้าต้องทำงานที่สำคัญให้เสร็จ จงกำจัดสิ่งรบกวนออกไปให้หมด (หรือให้มากที่สุด) โดยเราอาจจะทำการจดบันทึกสิ่งรบกวนที่เข้ามาแทรกไว้ในสมุดบันทึกก่อน เพื่อที่จะได้จัดการต่อหลังจากทำงานที่สำคัญเสร็จสิ้นแล้ว


เคล็ดลับในการสร้างความจดจ่อกับงานที่ทำ

1.)  ให้คุณมีภาพของความสำเร็จของงานที่ทำอยู่ไว้ในหัวของคุณ (เป็นเหมือนแผนที่จุดหมายปลายทาง)

2.)  ย่อยงานใหญ่ยักษ์ออกมาเป็น งานย่อยๆ แล้วพยายามทำให้มันเสร็จสิ้นไปวันล่ะอย่าง สองอย่าง (ไม่งันมีหวังหมดกำลังใจกันไปเสียก่อน โดยยิ่งเราแบ่งงานได้เล็กเพียงใดก็มีโอกาสที่จะทำงานนั้นได้สำเร็จมากขึ้นเท่านั้น)

3.)  ค่อยตรวจสอบความคืบหน้าด้วยตัวเองอยู่เสมอ


ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ สำหรับผม

1.)  ให้เลือกงานสำคัญที่จะทำให้เสร็จสิ้นในแต่ล่ะวัน (การไม่เลือกงานสำคัญทำให้เสียเวลากับงานไม่สำคัญ)

2.)  ให้ตั้งใจทำงานที่ล่ะอย่าง (พยายามให้งานเสร็จสิ้นให้ได้ งานที่เสร็จเพียงงานเดียว มีประโยชน์มากกว่างานที่ทำครึ่งๆกลางๆ สิบงาน)

3.)  มีเป้าหมาย และแบ่งเป็นงานย่อยๆ  (ทำงานเพื่อให้เข้าใกล้เป้าหมายไปทุกวัน)

4.)  ให้ตอบเมล์ให้สั้น และกระชับที่สุด  (การตอบเมล์ที่ยาวนอกจากเสียเวลาแล้ว ยังทำให้เกิดความสับสนได้ง่ายอีกด้วย)

5.)  อย่าให้คนอื่นมาใช้เวลาของเรา (งานของเราก็มากพอแล้ว)

สรุปส่งท้าย
เนือหาน่าสนใจดี ราคาไม่แพงเกินไป เหมาะสำหรับคนที่รู้สึกว่างานยุ่งไปหมด แต่หมดวันแล้วไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมา แล้วต้องการเปลี่ยนแปลงมัน (สำหรับคนที่ชอบให้ชีวิตยุ่งๆ ตลอดเวลาหนังสือนี้อาจจะไม่เหมาะนัก) 

[เป็นหนังสือที่ต้องอ่านเลย สำหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนแปลง]



Sept'14

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma