Skip to main content

ทำไม่งานจึงเดินช้า (ใครขวางทางอยู่)


ปัญหาปวดหัวของคนที่เป็นผู้จัดการส่วนใหญ่แล้วคือ 



การที่งานไม่สามารถเดินหน้าไปได้อย่างที่มันควรจะเป็น อะไรคือสาเหตุของปัญหา ใครกันนะที่ไปขวางทางเดินของงานต่างๆ ไม่อยากจะบอกเลยว่า โดยมากแล้วคุณ (ผู้จัดการทั้งหลายนั้นแหละ) ที่เป็นคนไปขวางทาง ทำให้งานติดๆขัดๆ ลองดูสรุปสาเหตุ 5 ประการ ที่ผู้จัดการทำให้งานไม่เดินกันดูนะครับ

1.) การไม่ยอมให้ลูกน้องทำงานได้โดยสะดวก คือจะไม่ยอมให้งานมีการเดินหน้าไปได้เลย หากไม่ได้รับการเห็นชอบจากคุณก่อน ไม่ว่าเรื่องนั้นมันจะเล็กน้อยสักเพียงใด อย่าได้หวังว่าจะสามารถดำเนินการไปได้ก่อนที่คุณจะอนุญาติ การที่ทุกๆเรื่องต้องรอให้คุณมาตัดสินใจ แน่นอนที่สุดว่ามันจะทำให้คุณเหนื่อยมาก แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือ งานมันจะไม่สามารถเดินไปได้เลย เพราะต้องรอคุณก่อน
     
   วิธีการแก้ไขปัญหานี้ สามารถทำได้โดยวิธีการง่ายมากๆเลยนั้นคือ ต้องปล่อยมันไป (Let's it Go) คุณต้องมอบหมายหน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจในการตัดสินใจบางอย่างออกไปให้กับ ลูกน้องของคุณ (ที่คุณคิดแล้วว่าเขามีความสามารถเพียงพอ) ไปจัดการ และคุณรู้มั้ยว่า ลูกน้อง(ที่มีความสามารถ) ส่วนใหญ่แล้วจะชอบ และตั้งใจทำงานมากยิ่งขึ้นเพียงแค่คุณมอบหมายความรับผิดชอบให้กับเขา

2.)  การไม่บอกเป้าหมายของงานต่างๆ ให้ลูกน้องเข้าใจอย่างชัดเจน การพูดคลุมเคลืออาจจะทำให้คุณรู้สึกว่าปลอดภัยจากการให้คำสั่งที่ผิดพลาด แต่เปล่าเลย เปล่าเลยมันกลับยิ่งจะทำให้ลูกน้องของคุณไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร เมื่อใด แล้วสุดท้ายความผิดพลาด ความล่าช้าก็จะเกิดขึ้น แน่นอนว่าคุณในธานะหัวหน้าย่อมไม่อาจจะหนีความรับผิดชอบไปได้พ้น

   วิธีการแก้ไขปัญหานี้ คือการอธิบายถึงเป้าหมาย วิธีการ ในการทำงานใดๆให้มีความชัดเจนมากที่สุด
ต้องให้แน่ใจว่าลูกน้องของคุณเข้าใจเป้าหมายอย่างชัดเจน (อาจจะใช้วิธีการสอบถามเพื่อให้แน่ใจก็ได้) การที่ทุกคนในทีมรู้ว่าสิ่งที่ต้องการเป็นอย่างไร จะทำให้งานสามารถเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว

3.)  การไม่ให้feedback กับลูกน้องในงานที่ทำไป จะทำให้ลูกน้องไม่รู้ว่าสิ่งที่ได้ทำไปนั้นมีความถูกต้องหรือไม่อย่างไร มีจุดอ่อน จุดแข็งตรงไหน ซึ่งหากสิ่งที่ลูกน้องทำไปยังมีจุดอ่อนอยู่แต่ไม่ได้รับการแนะนำ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ในอนาคต

   วิธีการแก้ไขปัญหานี้ ทำได้ง่ายมากๆ โดยการให้ feedback กับลูกน้องเสมอ แต่ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่เรา feedback ไปเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ (ไม่ใช้ให้ feedback ที่ไร้สาระ) และที่สำคัญคือ การชม มีพลังมากกว่าการติเตียน ดังนั้นหากจุดไหนที่ลูกน้องของเราสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องแล้ว จงชมเชยเพื่อให้ลูกน้องทราบว่าการทำเช่นนี้ดีแล้ว ถูกต้องแล้ว และจะพยายามทำเช่นนี้อีก

4.)  การไม่สอบถามถึงสภาพการทำงาน และไม่สอบถามว่าอะไรที่จะช่วยให้ลูกน้องของเรานั้นสามารถทำงานได้ดีขึ้น งานขึ้น สะดวกขึ้น นี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานดำเนินไปแบบเชื่องช้า

   วิธีการแก้ไขปัญหานี้ สามารถทำได้โดยการพูดคุยกับแบบธรรมดา (ไม่จำเป็นต้องทำแบบสอบถาม หรือแบบฟอร์มอะไรให้วุ่นวาย) กับลูกทีมของเรา เพื่อให้รู้ถึงความยากลำบาก และสิ่งต่างๆที่อาจจะทำให้การทำงานนั้นง่ายยิ่งขึ้น

5.)  การละเลยเรื่องเกี่ยวกับการฝึกอบรม อันนี้เป็นที่เข้าใจกันว่าหลายๆครั้งที่เราก็หลงลืมเรื่องเกี่ยวกับการฝึกอบรม เรามุ่งหวังเอาแต่ผลของงานที่ดี แต่ต้องจำไว้ว่า หากไม่มีการฝึกอบรมอะไรเลย แล้วลูกทีมของคุณจะมีความสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

   วิธีการแก้ไขปัญหานี้ มันก็ตรงตัวอยู่แล้ว จงตรวจสอบดูว่าลูกทีมของคุณจะต้องมีทักษะในด้านใดเพิ่มขึ้นหรือไม่ และเป็นทักษะในด้านใด จากนั้นจงส่ง หรือจัดให้มีการฝึกสอนในเรื่องนั้นๆ

หากเราสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆทั้ง 5 ข้อได้แล้ว ผมแน่ใจว่างานที่เคยเดินไปข้างหน้าอย่างอุยอ้ายเป็นเต่าคลาน จะแปลงร่างเป็นวิ่งฉิ่วเป็นกระต่ายเพรียวลมเลยที่เดียว

refer : http://quickbase.intuit.com


Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก...

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3...

แผนภาพวาดให้เป็น เก่งนำเสนอ

ผู้เขียน  :  Yamda Masao แปลโดย ประวัติ เพียรเจริญ ISBN  :  978-974-443-460-9 ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2012 จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. จำนวนหน้า  :  272 หน้า ราคา  :  220 บาท สรุปเนื้อหาสำคัญ    หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นหนังสือที่สอนวิธีการวาดภาพ แต่เป็นหนังสือที่สอนให้ใช้รูปภาพ (หมายถึง แผนภูมิ, กราฟ และตารางต่างๆ) เพื่อใช้ในการนำเสนอสิ่งต่างๆ ความคิดเห็น ข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้คนอ่านสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะความคิดของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน การนำเสนอความคิดด้วยภาพจึงมีความสำคัญมาก  "ความคิดถึงแม้จะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ก็ไร้ประโยชน์"    โดยมีการแยกสัดส่วนของเนื้อหาได้ดี มีการสรุปเป็นหัวข้อๆ ให้เข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ  สารที่ต้องการสื่อออกไป เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดออกไปให้ชัดเจน และเรียยเรียงอย่างมีระบบ รูปแบบ หรือกรอบความคิดที่จะใช้สำหรับสื่อสาร "สาร" ออกไป เช่นเป็นตารางข้อมูล เ...