Skip to main content

มหัศจรรย์แห่ง กลยุทธ์ทางธุรกิจ







ผู้เขียน  :  นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
ISBN  :  978-974-09-5952-6
ปีที่พิมพ์  :  2007
สำนักพิมพ์  :  Dekisugi.net
จำนวนหน้า  :  208 หน้า
ราคา  :  168 บาท 

สรุปเนื้อหาสำคัญ
   เริ่มจากปี 1971 ซึ่งนาย เคนเน็ธ อาร์ แอนดรูว์ ได้นำเสนอแนวคิดเรื่อง กลยุทธ์ในทางธุรกิจขึ้นมา โดยเป็นแนวคิดให้บริษัทรู้จักการค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเองแล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับสภาวะแวดล้อมของตลาด และคู่แข่ง 
   ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาแนวคิดนี้ จนถึงในปี 1980 โดยศาสตราจารย์ ไม่เคิล อี พอร์เตอร์ ได้เขียนหนังสือเรื่อง กลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy) ที่ได้รับความนิยมจากนักธุรกิจทั่วโลกเป็นอย่างมาก

   หนังสือได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับสายการบินเซาธ์เวสต์ ที่เน้นจุดแข็งในการบินในเส้นทางที่เชื่อมระหว่างเมืองที่ไม่ใช้เมืองใหญ่เข้าด้วยกัน โดยมีที่นั้งแบบเดียว คือชั้นประหยัด ไม่มีการเสิร์ฟอาหาร หรือระบุที่นั้ง ใช้เครื่องบินแค่รุ่นเดียวเท่านั้น เพื่อประหยัดค่าบำรุงรักษา และสามารถต่อรองราคากับผู้ผลิตเครื่องบินได้ (โบอิ้ง 737) ซึ่งส่งผลให้ทางสายการบินเซาธ์เวสต์สามารถที่จะมีต้นทุนในการบินต่ำกว่าคู่แข่ง และทำให้สามารถสร้างจุดแข็งที่สุดได้นั้นคือ การเสนอราคาค่าตั๋วเครื่องบินในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งมาก (ใกล้เคียงกับการเดินทางด้วยรถบัส) โดยรายละเอียดอยู่ในหน้า 8 ~ 21 ของหนังสือครับ

   แรงดึงที่ส่งผลกับอุตสาหกรรม มีทั้งหมดอยู่ 5 แรงที่เรียกกันว่า "แรงดึงทั้งห้าของพอร์เตอร์"
1.) แรงดึงจากสินค้าทดแทน
2.) แรงดึงจากอำนาจของผู้ซื้อ
3.) แรงดึงกันเองระหว่างคู่แข่ง
4.) แรงดึงจากอำนาจซัพพลายเออร์
5.) แรงดึงจากผู้เล่นรายใหม่

   กลยุทธ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปมีอยู่ 3 แบบใหญ่คือ
   1.) กลยุทธ์ด้านราคา : การทำทุกวิธีทางเพื่อให้เราเป็นผู้นำด้านต้นทุน และราคาที่ต่ำที่สุด
   2.) กลยุทธ์ด้านความแตกต่าง : การสร้างความแตกต่างให้เป็นที่รับรู้ในกลุ่มลูกค้า โดยมูลค่าเพิ่มที่ลูกค้าได้รับ จะน้อยกว่าต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น
   3.) กลยุทธ์ด้านกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย : การเจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะทาง เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้นๆ

   ความจริงแล้วกลยุทธ์โดยมากจะเป็นการเลือกที่จะ "ไม่ทำ" อะไรบ้างอย่างมากกว่า การเลือกที่จะ "ทำ" อะไรบ้างอย่าง เช่นกรณีศึกษาสายการบินเซาธ์เวสต์ เลือกที่จะ"ไม่ทำ" 

  • ไม่มีที่นั้งหลากหลายแบบ โดยมีเฉพาะที่นั้งชั้นประหยัด
  • ไม่ลงจอดที่สนามบินใหญ่ เพื่อจะได้ไม่ต้องจอดรอเวลาขึ้นบินนานๆ
  • ไม่ใช้เครื่องบินหลายแบบ เพื่อประหยัดค่าบำรุงรักษา
เมตริกซ์แห่งการเติบโต และส่วนแบ่งตลาด (Growth / Share Matrix) หรือ บีซีจี โมเดล (BCG model) ที่แบ่งสินค้าออกเป็น 4 กลุ่ม คือ วัว ดาว สุนัข และปัญหา




  ทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการร่วมมือกัน โดยมีแนวคิดว่าธุรกิจไม่ใช่ Zero Sum game กล่าวง่ายๆคือ ถ้าคนหนึ่งได้ อีกคนไม่จำเป็นที่จะต้องเสีย เช่นร้านค้าแบบเดียวกันมาเปิดใกล้ๆ ไม่ได้เป็นการแย่งลูกค้ากัน แต่เป็นการทำให้ย่านนั้นมีความคึกคัก และทำให้ลูกค้าแห่กันเข้ามาอันเป็นประโยชน์กับทุกคน (รายละเอียดหน้า 102 ~ 131)

นอกจากนี้ในหนังสือยังได้กล่าวถึงกลยุทธ์ต่างๆอีกหลายอย่าง ซึ่งน่าศึกษาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่านี้เป็นหนังสืออีกเล่มที่ต้องอ่านเลยครับ
   

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma