Root คืออะไร? Root แล้วได้อะไร? ทำไมต้อง Root?
Root คืออะไร?
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจกันก่อนว่า Android นั้นพัฒนาขึ้นมาจาก Linux เพราะฉะนั้น Kernel หรือแกนกลางที่ตัวระบบคุยกับ Hardware นั้นก็จะใช้รูปแบบเดียวกับ Linux ครับ จริงๆแล้วเราอาจจะเรียกแอนดรอยด์ว่าระบบปฎิบัติการ ( Operating System ) อย่างเต็มปากเต็มคำไม่ได้ด้วยซ้ำ
*** iOS เองจริงๆแล้วก็เป็น OS Stack เช่นกัน โดยมีพื้นฐานของตัว OS มาจาก FreeBSD และใช้ Kernel แบบเดียวกับ Linux ครับ ( FreeBSD เป็นญาติกับ Linux )
ถ้าหากสงสัยเรื่อง OS Stack ให้อ่านที่ลิ้งค์นี้ครับ http://c2.com/cgi/wiki?TheStack
Root ในภาษาของคนใช้ Linux ทั่วไป มันคือ Default Super User นั่นเองครับ หลังจากเราลง Linux หรือญาติของ Linux ตัวอื่นๆอย่าง Ubuntu, FreeBSD และ Fedora มันจะมี User ที่ขื่อว่า Root เป็น Super User ที่สามารถแก้ไขไฟล์และตั้งค่าระบบต่างๆในเครื่องได้ ถ้าจะพูดกันให้เข้าใจแบบบ้านๆกับคนใช้ Windows บ่อยๆ Super User ก็คือ Adminstrator นั่นล่ะครับ
การ Jailbreak บน iOS ก็คือการทำให้ได้มาซึ่งสิทธิของ Super User เช่นเดียวกับ การ Root บน Android ครับ ทำให้หลังจากที่เราทำการ Jailbreak บน iOS แล้วเราจะสามารถแก้ไขส่วนต่างๆของระบบได้เช่นเดียวกับ Android ที่ทำการ Root พูดง่ายๆก็คือ Jailbreak(iOS) = Root(Android) นั่นเอง แต่ทว่า Android นั้นเค้าไม่ได้ล้อคการติดตั้งแอพฯที่ไม่รู้แหล่งที่มาหรือแอพฯนอก Market ( Unknow Source ) ทำให้ Android สามารถติดตั้งแอพฯที่เป็นไฟล์ .apk ได้เลย ต่างจาก Apple ที่ล้อคการติดตั้งเอาไว้ ทำให้ผู้ที่ต้องการลงแอพฯไฟล์ .ipa นั้นจำเป็นต้อง Root เพื่อแก้ไขระบบก่อน จึงจะสามารถลงแอพฯจากไฟล์ได้
มีหลายๆคนมักจะเข้าใจผิดกันไปต่างๆนาๆว่า
Root แล้วเครื่องจะเร็วขึ้น
Root แล้วเครื่องจะเสถียรขึ้น
Root แล้วเครื่องจะประหยัดแบตขึ้น
ต้องบอกว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่ได้มาจากการ Root ครับ แต่มันจะได้มาหลังจากการ Root ต่างหากล่ะครับ บางคนอาจจะคิดง่ายๆว่าอยาก Overclock CPU ก็ Root แล้วลงแอพฯ Overclock ก็จบแล้ว จริงๆมันไม่ใช่ครับ บางเครื่องอาจจะง่ายๆแค่นั้น บางเครื่องก็ถึงกับต้องลง Custom ROM หรือยัด Kernel ที่ Support การ Overclock ลงไป ถึงจะสามารถ Overclock ได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากเราต้องการจะใช้อะไรหลังจากการ Root ให้ไปดูวิธีทำไว้ก่อนว่ามันยากเกินกว่าเราจะทำได้มั้ย หรือมันสามารถทำได้รึเปล่า เพราะเครื่องบางเครื่องมันก็ Overclock ไม่ได้นะครับ
เรื่องที่ทำให้เครื่องเสถียรขึ้นก็เช่นกัน การที่ทาง Google จำเป็นต้องปิด Super user ไว้ไม่ให้เราใช้กันก็เพราะมันจะมีผลกับความเสถียรของเครื่องที่เราใช้อยู่นี่ล่ะครับ ถ้าหากเรามี Super user อยู่ในมือเราก็สามารถแก้ไขตัวระบบได้ แน่นอนว่ามันอาจจะทำให้เครื่องเสถียรขึ้นหรือลดความเสถียรลงก็ได้ เพราะฉะนั้นก่อนการ Root ทำใจเรื่องนี้กันไว้ด้วยนะครับ
Root คืออะไร?
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจกันก่อนว่า Android นั้นพัฒนาขึ้นมาจาก Linux เพราะฉะนั้น Kernel หรือแกนกลางที่ตัวระบบคุยกับ Hardware นั้นก็จะใช้รูปแบบเดียวกับ Linux ครับ จริงๆแล้วเราอาจจะเรียกแอนดรอยด์ว่าระบบปฎิบัติการ ( Operating System ) อย่างเต็มปากเต็มคำไม่ได้ด้วยซ้ำ
*** iOS เองจริงๆแล้วก็เป็น OS Stack เช่นกัน โดยมีพื้นฐานของตัว OS มาจาก FreeBSD และใช้ Kernel แบบเดียวกับ Linux ครับ ( FreeBSD เป็นญาติกับ Linux )
ถ้าหากสงสัยเรื่อง OS Stack ให้อ่านที่ลิ้งค์นี้ครับ http://c2.com/cgi/wiki?TheStack
Root ในภาษาของคนใช้ Linux ทั่วไป มันคือ Default Super User นั่นเองครับ หลังจากเราลง Linux หรือญาติของ Linux ตัวอื่นๆอย่าง Ubuntu, FreeBSD และ Fedora มันจะมี User ที่ขื่อว่า Root เป็น Super User ที่สามารถแก้ไขไฟล์และตั้งค่าระบบต่างๆในเครื่องได้ ถ้าจะพูดกันให้เข้าใจแบบบ้านๆกับคนใช้ Windows บ่อยๆ Super User ก็คือ Adminstrator นั่นล่ะครับ
การ Jailbreak บน iOS ก็คือการทำให้ได้มาซึ่งสิทธิของ Super User เช่นเดียวกับ การ Root บน Android ครับ ทำให้หลังจากที่เราทำการ Jailbreak บน iOS แล้วเราจะสามารถแก้ไขส่วนต่างๆของระบบได้เช่นเดียวกับ Android ที่ทำการ Root พูดง่ายๆก็คือ Jailbreak(iOS) = Root(Android) นั่นเอง แต่ทว่า Android นั้นเค้าไม่ได้ล้อคการติดตั้งแอพฯที่ไม่รู้แหล่งที่มาหรือแอพฯนอก Market ( Unknow Source ) ทำให้ Android สามารถติดตั้งแอพฯที่เป็นไฟล์ .apk ได้เลย ต่างจาก Apple ที่ล้อคการติดตั้งเอาไว้ ทำให้ผู้ที่ต้องการลงแอพฯไฟล์ .ipa นั้นจำเป็นต้อง Root เพื่อแก้ไขระบบก่อน จึงจะสามารถลงแอพฯจากไฟล์ได้
Root แล้วได้อะไร?
มีหลายๆคนมักจะเข้าใจผิดกันไปต่างๆนาๆว่า
Root แล้วเครื่องจะเร็วขึ้น
Root แล้วเครื่องจะเสถียรขึ้น
Root แล้วเครื่องจะประหยัดแบตขึ้น
ต้องบอกว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่ได้มาจากการ Root ครับ แต่มันจะได้มาหลังจากการ Root ต่างหากล่ะครับ บางคนอาจจะคิดง่ายๆว่าอยาก Overclock CPU ก็ Root แล้วลงแอพฯ Overclock ก็จบแล้ว จริงๆมันไม่ใช่ครับ บางเครื่องอาจจะง่ายๆแค่นั้น บางเครื่องก็ถึงกับต้องลง Custom ROM หรือยัด Kernel ที่ Support การ Overclock ลงไป ถึงจะสามารถ Overclock ได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากเราต้องการจะใช้อะไรหลังจากการ Root ให้ไปดูวิธีทำไว้ก่อนว่ามันยากเกินกว่าเราจะทำได้มั้ย หรือมันสามารถทำได้รึเปล่า เพราะเครื่องบางเครื่องมันก็ Overclock ไม่ได้นะครับ
เรื่องที่ทำให้เครื่องเสถียรขึ้นก็เช่นกัน การที่ทาง Google จำเป็นต้องปิด Super user ไว้ไม่ให้เราใช้กันก็เพราะมันจะมีผลกับความเสถียรของเครื่องที่เราใช้อยู่นี่ล่ะครับ ถ้าหากเรามี Super user อยู่ในมือเราก็สามารถแก้ไขตัวระบบได้ แน่นอนว่ามันอาจจะทำให้เครื่องเสถียรขึ้นหรือลดความเสถียรลงก็ได้ เพราะฉะนั้นก่อนการ Root ทำใจเรื่องนี้กันไว้ด้วยนะครับ
Comments
Post a Comment