Skip to main content

กลยุทธ์ ในการเป็น ผู้จัดการ ๑ นาที

การเป็นผู้จัดการ อาจจะเป็นเรื่องยากในการจัดการกับเวลาที่มีจำกัด แต่ต้องทำงานที่มีมากแบบไม่จำกัด ดังนั้นเราจึงต้องทำงานให้มีประสิทธิผลอย่างสูงสุด ด้วยกลยุทธ์ เพื่อให้เราสามารถเป็นผู้จัดการ ๑ นาที (หมายถึง ผู้จัดการที่ทำงานต่างๆ ให้เสร็จได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน ๑ นาที)

โดยการที่เราจะสามารถทำการบริหารจัดการ (เป็นผู้จัดการ ๑ นาที) ให้ดีได้นั้น เราจะต้องมี

- การประชุมจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ระบุหัวเรื่องที่เราจะประชุมกัน ระบุตัวบุคคลที่รับผิดชอบ

- การประชุมจะต้องมีการสรุปเรื่องค้างเก่าก่อน ที่จะเริ่มไประบุแผนการสำหรับขั้นต่อไป โดยจะต้องมีการประชุมเป็นประจำ และต่อเนื่อง

- ถ้าทีมงานทำงานได้ผลเป็นอย่างดี จะต้องทำการชมเชยทันที เพราะพอคนเรามีความรู้สึกที่ดี ผลงานที่ได้ออกมาจะดีด้วย

- ทีมงานจะต้องมีอิสระในการทำงาน โดยผู้จัดการไม่ควรทำการตัดสินใจให้คนอื่น ในเรื่องที่ได้มอบหมายให้ทีมงานทำแล้ว เพราะจะทำให้ความรู้สึกมีส่วนร่วมหายไป และไม่เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีความสำคัญมาก

- ผู้จัดการควรงดการพูดซ้ำๆ เพราะไม่เกิดประโยชน์ และอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายได้

- การมอบหมายงานให้ทีมงานจะต้องมีความชัดเจนให้มากที่สุด ความคาดหวังที่อยากได้รับจากทีมงานคืออะไร ควรที่จะสามารถทำการวัดผลงานได้

- ผู้จัดการต้องสามารถระบุปัญหาได้ (ปัญหาคือ สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่เป็นไปตามสิ่งที่เราคาดว่าควรจะเป็น และสามารถระบุวิธีการแก้ปัญหาได้ (การแก้ปัญหาคือ ทำสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ให้เป็นไปตามสิ่งที่เราคาดว่าจะเป็น) โดยเราต้องแน่ใจว่าสิ่งที่เราต้องการจัดการนั้น ทำแล้วจะต้องมีผลที่ดีขึ้น


- หากทีมงานทำงานแล้วมีข้อผิดพลาด เราจะต้องไม่ละเลยที่จะตักเตือน เพื่อให้ทีมงานได้ทราบข้อผิดพลาดอย่างตรงไปตรงมา และชัดเจน

ที่มา ผู้จัดการ ๑ นาที

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma