Skip to main content

มหาอำนาจ 4 ชาติสอนรวย



ผู้เขียน  :  สุวรรณา ตปยานีกรกช
ISBN  :   978-616-7776-08-8
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2012
จัดพิมพ์โดย  :  Busy Day
จำนวนหน้า  :  240 หน้า
ราคา  :  185 บาท

สรุปเนื้อหาสำคัญ

   หนังสือพยายามที่จะสรุปความสำเร็จของชาติต่างๆที่มีความยิ่งใหญ่ในเชิงเศรษฐกิจ คือประเทศจึน ญี่ปุ่น ยิว และเกาหลีใต้ โดยแต่ละประเทศก็มีจุดแข็ง ที่ทำให้ประเทศนั้นๆ ประสบความสำเร็จต่างๆกันไป  

   เช่นอย่างที่ทุกคนน่าจะทราบกันดี ประเทศจีน หรือให้ชัดเจนขึ้นคือ คนจึนนั้นมีความสามารถในการทำการค้าขายเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้ว่าแค่ในประเทศไทย กลุ่มธุรกิจส่วนมากก็เป็นคนเชื้อสายจีน และในความจริงแล้วคนจีนในประเทศต่างๆทั่วโลก ก็มีส่วนสำคัญในระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น ดังนั้นจุดแข็งของประเทศจีน คือความกล้าได้ กล้าเสีย และความรู้ในเรื่องธุรกิจ และที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับพวกพ้อง หรือระบบอุปถ้มภ์ (รวมไปถึงการอิงอำนาจทางการเมืองด้วย)

   หรือประเทศญี่ปุ่น มีความแข็งแกร่งมากในด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะระบบต่างๆที่ทำให้สินค้าที่ผลิตโดยประเทศญี่ปุ่นมีคุณภาพสูงมาก และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เช่นระบบของโตโยต้า (The Toyota way) 

หัวข้อที่น่าสนใจ

The Toyota Way  :  เป็นวิธีปฏิบัติของโตโยต้าที่ใช้เพื่อก้าวมาสู่ความเป็น 1 ในโลกของรถยนต์ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ (Key Success) อยู่ทั้งหมด 5 ข้อ

   1. Challenge คือการสร้างวิสัยทัศน์ระยะยาวที่จะต้องใช้ เพื่อต่อสู้ และคงอยู่ในอุตสาหกรรม


   2.)  Kaizen  คือการสร้างการพัฒนาการทำงานแบบไม่มีที่สิ้นสุด เช่นการทำระบบ JIT (Just In Time) ขึ้นมา ซึ่งช่วยให้เกิดความประหยัดได้อย่างมหาศาล ในการลดสิ้นค้าคงคลัง

   3.)  Genchi / Genbutsu   คือการมุ่งความสนใจไปที่ต้นตอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหา หรือการผลิตอื่นๆ โดยผู้บริหารจะต้องไม่แต่นั้งอยู่ในสำนักงานเท่านั้น ต้องไปให้ถึงหน้างานเพื่อจะได้ประเมินวิธีการแก้ไขได้อย่างถูกต้องทันเวลา


   4.)  Respect  คือการเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น โดยจะต้องให้ความคำสัญกับความเห็นทุกๆอย่าง โดยเฉพาะจากผู้ปฏิบัติงานจริง


   5.)  Teamwork  คือการให้ความสำคัญกับทีม มากกว่าแค่คนใดคนหนื่ง โดยเชื่อว่าทุกๆคนในทีมคือเจ้าของความสำเร็จร่วมกัน



[ถ้าได้อ่านก็น่าจะดี]

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma