Skip to main content

เมื่อภูเขาน้ำแข็งละลาย Our Iceberg Is Melting


ผู้เขียน  :  John Kotter & Holger Rathgeber
แปลโดย  :  ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย
ISBN  :  978-974-655-404-6
ปีที่พิมพ์  :  2010
สำนักพิมพ์  :  มหาวิทยาลัยศรีปทุม
จำนวนหน้า  :  158 หน้า
ราคา  :  280 บาท 

สรุปเนื้อหาสำคัญ
   เป็นนิทานที่มีการดำเนินเรื่องอยู่ที่ แอนตาร์กติกา โดยมีตัวเอกเป็นเพนกวิน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างความเปลี่ยนแปลง ก่อนสถานการจะเปลี่ยนแปลงไป ด้วยวิธีการง่ายๆ ๘ ขั้นตอน

   เรื่องย่อนิทาน เพื่อให้คนที่ไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้พอเข้าใจ แต่จะไม่ลงรายละเอียด (เพราะถ้าคุณสนใจมันจริงๆ คุณต้องไปซื้อ หรือหามาอ่านเอง)
   
   เพนกวินอาศัยอยู่บนเกาะน้ำแข็งของพวกมันมานาน หลายรุ่นจนเชื่อว่าเกาะน้ำแข็งของมันจะอยู่ในสภาพนี้ไปตลอดกาล แต่แล้วก็มีเกนกวินตัวหนึ่งพบว่าเกาะน้ำแข็ง บ้านของพวกมันกำลังค่อยๆละลายลงแล้ว และมีความเสี่ยงอย่างมากที่เกาะของพวกมันจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ
   เพนกวินตัวนั้นนำเรื่องเข้าสู่คณะบริหารของกลุ่มเพนกวิน (อย่าสงสัยมาก มันเป็นนิทานจำไว้ มุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาซะ) โดยในกลุ่มบริหารก็จะมีทั้งเพนกวินที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย รวมถึงไม่สนใจด้วย ดังนั้นผู้นำสูงสุดได้ตัดสินใจเพื่อให้การขับเคลื่อนเรื่องสำคัญสามารถเดินหน้าไปได้ มันจำเป็นที่จะต้องสร้างทีมที่แข็งแกร่ง ที่มีขนาดเหมาะสม โดยรวมเพนกวินที่มีความสามารถหลากหลายมาทำงานร่วมกันภายใต้เป้าหมายเดียวกัน
   หลังจากการหาข้อมูล และอภิปรายมากมาย ในที่สุด คณะบริหารของกลุ่มเพนกวินก็คิดว่า การย้ายออกจากเกาะที่ไม่สมดุลนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แน่นอนกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยก็สร้างกระแสต่อต้านการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา ดังนั้นการจัดการความไม่เห็นด้วยจึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการจัดการ เพื่อให้เพนกวินส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแผนการย้ายถิ่นฐาน
   ทุกการเปลี่ยนแปลงจำเป็นที่จะต้องใช้พละกำลังอย่างมหาศาล รวมถึงการทำลายความเชื่อเดิมๆที่ขวางทางการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย ในที่สุดหลังจากการจัดการสิ่งต่างๆให้ลงตัว เหล่าเพนกวินก็สามารถย้ายไปอยู่ที่บ้านใหม่ได้อย่างปลอดภัย

กระบวนการ ๘ ขั้นในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
๑. สร้างสำนึกแห่งความเร่งรีบ
๒. สร้างทีมชี้นำอันทรงพลัง
๓. พัฒนากลยุทธ์ และวิสัยทัศน์ที่เปลี่ยนไป
๔. สื่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจ (ให้แน่ใจว่าคนกลุ่มใหญ่เอาด้วย)
๕. มอบอำนาจให้ผู้อื่นไปกระทำ (ช่วยขจัดอุปสรรคให้มากที่สุด)
๖. ผลิตชัยชนะระยะสั้น 
๗. อย่าผ่อนจนกว่าเป้าหมายหลักจะสำเร็จ
๘. สร้างวัฒนะธรรมใหม่ (รักษาสภาพใหม่ ให้เป็นมาตราฐาน ไม่กลับไปเป็นแบบเดิม)

สำหรับผมแล้ว ผมชอบอ่านหนังสือที่ยกตัวอย่าง (เช่านิทาน) เพราะช่วยให้เข้าใจ concept ได้ง่าย ดังนั้นผมจึงชอบอ่านหนังสือแนวๆนี้ แนะนำให้อ่านครับ สนุกดี

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma