Skip to main content

แค่ทำให้คนเก่งขึ้น 1% คุณก็จะทำงานน้อยลง 99%



ผู้เขียน  :  Eitaro Kono 
ผู้แปล  :  โยซุเกะ 
ISBN  :  978-616-287-110-8
ปีที่พิมพ์  :  2015
สำนักพิมพ์  :  We Learn
จำนวนหน้า  :  216 หน้า
ราคา  :  180 บาท 

สรุปเนื้อหาสำคัญ
   หนังสือเล่มนี้เน้นไปที่การสอนการเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า โดยสรุปแล้วคือ หนังสือสำหรับเหล่าหัวหน้าทั้งหลายที่จะสามารถลากเอาพลังทั้งหมดของทีมงานออกมาให้ได้ เพื่อมุ่งไปสู่ผลสำเร็จ หรือเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ โดยในหนังสือจะแบ่งออกเป็นบทๆ ทั้งหมด 8 บทด้วยกัน โดยเริ่มตั้งแต่การเริ่มหาคนเข้าทีมเลย

   เริ่มกันตั้งแต่หัวหน้าคืออะไร หลายคนคงให้คำจำกัดความของหัวหน้าแตกต่างกันออกไปตามประสบการณ์ที่มีมา แต่ในหนังสือเล่มนี้ได้ให้คำจำกัดความของหัวหน้าไว้อย่างน่าสนใจว่า คือ "คนที่คอยกระตุ้นให้ผู้คนรู้สึกอยากทำงาน โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความตั้งใจ"
   โดยจะแตกต่างจากเจ้านาย ที่หนังสือให้คำจำกัดความค่อยข้างจะน่ากลัวว่าคือ "คนที่คอยควบคุมผู้คน โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนชอบทำตัวเหลวไหล"

   สิ่งที่หัวหน้าจะต้องมีคือ ความสามารถในการ "กำหนดเป้าหมาย" "มัดใจผู้คน" และ "จูงใจให้พวกเขาให้ทำตามเป้าหมายนั้น" ดังนั้นไม่ว่าใครหากสามารถทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ คนๆนั้นก็เหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าได้ 

   หนังสือได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างทีม (หาคนเข้าทีม) ว่าจงเลือกให้มีความหลากหลาย เพราะการทำงานเป็นทีมคือ การอุดจุดบอดของเรา จงอย่ากลัวที่จะเอาคนที่เก่งกว่าเราเข้ามาไว้ในทีม การที่ในทีมมีความหลากหลายมาก (อายุ เพศ ความชอบ ความถนัด) ยิ่งเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีม

   เมื่อเรามีทีมงานที่ดีแล้ว ต่อไปคือการทำให้ทุกคนเข้าใจในเป้าหมายที่เรากำลังจะฝ่าฟันไปด้วยกัน โดยเราควรจะต้องบอกให้ชัดถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมาย รวมถึงสิ่งที่ทีมจะได้รับเมื่อเกิดผลสำเร็จขึ้น

   ระหว่างการประเมินผล การเอ่ยคำชมเป็นวิธีการที่ได้ผลสูงสุด โดยต้องเอ่ยคำชมด้วยความจริงใจ และทำในทันที่ (ไม่เหมือนการตำหนิที่ต้องเลือกสถานที่ และเวลา) โดยสามารถทำต่อหน้าทีมงานคน หรือแม้แต่คนอื่นก็ได้

    เมื่อคนในทีมต้องการความช่วยเหลือ หรือคำปรึกษาจงให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นอย่างตั้งใจ จงหยุดทำทุกอย่างแล้วตั้งใจฟัง เพราะนี้คือสัญญาณว่าทีมกำลังมีปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ หากเราไม่ให้ความสำคัญกับปัญหานั้นๆ ปัญหานั้นอาจจะลุกลามและยากต่อการจัดการในอนาคต  

   หัวหน้างานจำเป็นที่จะต้องปกป้องลูกทีมของเขาอย่างสุดความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คุณเข้าใจ มีความถนัดหรือไม่ก็ตาม ในฐานะหัวหน้าคุณต้องออกรับก่อน โดยเฉพาะเรื่องที่ทีมอาจจะทำผิดพลาด การโดนตำหนิ คุณต้องไม่หนีปล่อยให้ทีมต้องผจญปัญหาไปเอง ในทางกลับกัน หากเป็นคำชม ในฐานะหัวหน้าทีมคำชมทั้งหมดต้องตกเป็นของทีม ไม่ใช่ของหัวหน้าทีมเท่านั้น

   ความจริงแล้วงานของหัวหน้าคืออะไรกันแน่ หากคิดให้ดีๆแล้วงานของหัวหน้าก็คือ การตัดสินใจ และถ่ายทอดการตัดสินใจน้้นๆ ให้กับทีมงานได้ทราบและไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าหัวหน้างานไม่ตัดสินใจซะแล้ว ก็แน่นอนว่าทีมงานย่อมเดินต่อไปไม่ได้ ดังนั้นเมื่อลูกทีมมาขอความชัดเจนในการทำงานแล้วหัวหน้างานไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง ตัวหัวหน้างานเองก็จะกลายมาเป็นอุปสรรค์ เชือเถอะครับว่าการตัดสินใจที่แย่ที่สุดคือ การไม่ตัดสินใจนั้นเอง

   อย่าเสียเวลากับเรื่องไม่สำคัญ และเรื่องเล็กๆน้อยๆมากเกินไป เช่นการถกเถียงกันว่าใครเป็นผู้ผิดเมื่อเกิดปัญหาขึ้นซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญ แทนที่จะช่วยกันหาทางออก ทางแก้ปัญหาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ หรือเรื่องเกี่ยวกับเอกสารที่ลูกทีมอาจจะทำผิดพลาดไป แทนที่จะแก้ให้ลูกทีม เราควรจะส่งให้ลูกทีมคนนั้นๆไปแก้ไข โดยบอกให้เข้าใจว่าต้องทำการทานเอกสารให้ถูกต้องทุกครั้ง

   หน้าที่ที่สำคัญของหัวหน้าทีมคือ การกำหนดเป้าหมายให้กับทีม และทำให้ลูกทีมมีความรู้สึกร่วมกับเป้าหมายนั้นๆ และแน่นอนมันเป็นอีกหน้าที่ของหัวหน้างานที่จะต้องสอนงาน ให้ลูกทีมมีความรู้ความสามารถเหมาะสมที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

   อย่าทำเป็นรู้ในเรื่องที่ไม่รู้ แม้จะเป็นหัวหน้างานแต่มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยที่จะมีอะไรบางเรื่องที่เราไม่รู้ ดังนั้นเมื่อต้องเจอกับเรื่องที่เราไม่รู้ ไม่ต้องอายที่จะบอกออกไปตรงๆเลยว่าเราไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย และต้อบสอบถามเรื่องนั้นๆจนเข้าใจอย่างเร็วที่สุดด้วย

สุดท้ายหัวหน้างานควรจะมีความเชื่อว่า "ลูกทีมทุกคน เป็นคนดี" เราสามารถเชื่อใจทุกคนได้ โดยเราไม่จำเป็นที่จะต้องไปจ้องจับผิด การทำงานที่ดีควรอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อใจของทีมงาน

ดูแล้วไม่ใช่แค่หัวหน้างานเท่านั้นที่เหมาะกับหนังสือเล่มนี้ เพราะเป็นหนังสือที่อ่านสนุก ได้ความรู้ เพื่อเอาไปปรับใช้กับงาน หรือชีวิตประจำวันได้ เป็นหนังสือที่แนะนำให้ต้องอ่านให้ได้นะครับ

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma