Skip to main content

หัวหน้าของเรา เป็น ผู้จัดการ หรือ เป็น ผู้นำ



อย่างแรกเลยคือ อะไรคือความแตกต่างกันระหว่าง ผู้นำ กับ ผู้จัดการ

ผู้จัดการ คือ คนที่คอยจัดการให้ลูกน้องทำงาน ตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จเสร็จสิ้น โดยมักจะเน้นไปที่การสร้างความหวาดกลัว 

เปรียบเป็นตัวอย่างการทำงาน เสมือนกับการการเดินแถว ผู้จัดการจะเป็นคนที่เดินอยู่หน้าแถว แต่เดินถอยหลัง เพื่อจะได้จ้องจับผิด คนที่เดินอยู่ในแถว ว่าเดินได้ถูกต้อง หรือไม่

ผู้จัดการมักจะมีความเชื่อว่า ลูกน้องไม่สามารถเชื่อถือได้ หรือมีความสามารถไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องมีการจำตามองอย่างใกล้ชิด ไม่เช่นนั้นงานทุกอย่างจะต้องเกิดปัญหาใหญ่ขึ้น

ผู้จัดการมักจะใช้ กฏ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมลูกน้อง อย่างที่บอกไป เน้นสร้างความกลัวให้กับลูกน้อง

ผู้จัดการมักจะกลัวปัญหาทุกชนิด แม้แต่เรื่องเพียงเล็กน้อย ก็จะคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่อยู่เสมอ และโดยมากมักจะให้ความสำคัญไปที่ "ใคร คือ สาเหตุ" ของปัญหา

ผู้นำ คือ คนที่สร้างสภาวะที่เหมาะสมในการดึงเอาศักญภาพ ของลูกน้องออกมาให้ได้มากที่สุด โดยจะเน้นไปที่การสร้างขวัญ และกำลังใจ

เปรียบเป็นตัวอย่างการทำงาน เสมือนกับการการเดินแถว ผู้นำจะเป็นคนที่เดินอยู่หน้าแถว โดยนำแถวด้วยความมั่นใจว่าลูกน้องจะสามารถตามเขาได้อย่างถูกต้อง

ผู้นำ มีความมั่นใจในตัวลูกน้องเป็นอย่างมาก โดยจะพยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับงานของลูกน้องให้น้อยที่สุด เท่าที่จะจำเป็น โดยมั่นใจในความสามารถของลูกน้องว่าจะสามารถทำงานได้อย่างเรียบร้อย

ผู้นำ ใช้การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และสร้างการมีส่วนร่วมในการควบคุมลูกน้อง

ผู้นำเข้าใจว่า ปัญหา เป็นเรื่องปกติ และจะเน้นไปที่การแก้ไขปัญหา มากกว่าที่จะหาว่าใครคือต้นเหตุของปัญหา

คราวนี้ลองคิดดูว่า คุณเป็น หรือมี หัวหน้าที่เป็นผู้จัดการหรือไม่ จากลักษณะ ๑๐ ประการของผู้จัดการ

๑.  ผู้จัดการจะไม่ถามความคิดเห็นของลูกน้อง เพราะผู้จัดการเชื่อในอำนาจที่มีเหนือลูกน้อง

๒.  ผู้จัดการจะไม่ชมเชยความสามารถของลูกน้อง เพราะผู้จัดการต้องการรักษาความเหนือกว่าลูกน้องไว้

๓.  ผู้จัดการจะไม่ทำผิด ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงผู้จัดการจะทำผิดก็ตาม เขาจะไม่มีวันยอมรับมัน

๔.  ผู้จัดการจะไม่ยอมรับความเห็นแย้งจากลูกน้อง เพราะเชื่อว่าตัวเองเหนือกว่า

๕.  ถ้าผู้จัดการต้องการความช่วยเหลือจากลูกน้อง มันจะต้องไม่เป็นที่เปิดเผย เพราะกลัวว่าจะเสีย
การควบคุมลูกน้อง

๖.  ผู้จัดการจะไม่ยอมให้ลูกน้องของตนเอง ไปติดต่อโดยตรงกับหัวหน้าของผู้จัดการเด็ดขาด เพราะกลัวว่าหัวหน้าของตัวจะเชื่อลูกน้องมากกว่าตัวเอง

๗. ผู้จัดการจะไม่ช่วยรับหน้า เวลาลูกน้องมีปัญหา เพราะไม่อยากจะมีปัญหาไปด้วย

๘.  ผู้จัดการจะไม่บอกแผนการในอนาคตให้กับลูกน้องให้รับทราบ จะบอกเพียงแค่บางส่วนที่ลูกน้องจะต้องทำเท่านั้น โดยเชื่อว่านี้คือ อำนาจอย่างหนึ่ง

๙.  ผู้จัดการจะไม่พูดถึงสิ่งที่อาจจะเป็นปัญหากับตัวเอง

๑๐.  ผู้จัดการจะเสียเวลา และพละกำลังอย่างมาก เพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง มากกว่าประโยชน์ของบริษัท


ที่มา www.forbes.com  

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma