การสอนแบบมอนเตสซอรี่ คือการเรียนการสอนที่ยึดเอาตัวเด็กเป็นสำคัญ โดยผู้ที่ริเริ่มการสอนแบบดังกล่าวคือ Dr.Maria Montessori (1870~1952) โดยมีหลักการมาจากพื้นฐานที่ว่า
"การศึกษาไม่ใช่สิ่งที่ครูผู้สอนจะสามารถสอนเด็กๆ ได้โดยการบอกกล่าวเท่านั้น แต่การศึกษาคือ กระบวนการเรียนรู้ทางธรรมชาติที่จะค่อยๆ เกิดขึ้น และสะสมมากขึ้นในตัวเด็กแต่ละคน จากประสบการณ์ที่ได้รับ และสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่"
ทฤษฎีของมอนเตสซอรี่นั้นเชื่อว่า เด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากผู้ใหญ่สังเกตุเด็กและ ศึกษาความต้องการจำเพาะของเด็กแต่ละคน รวมทั้งสามารถที่จะหาช่วงเวลาที่เหมาะสมสอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนได้แล้ว ผู้ใหญ่ก็จะสามารถทำหน้าที่แค่เพียง จัดการสภาพแวดล้อม และกิจกรรมต่างๆที่เหมาะสมให้กับเด็กได้ จากนั้นจึงถอยห่างออกมา เพื่อให้เด็กได้ทำการเรียนรู้ ซึมซับ และเกิดการพัฒนาการภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผู้ใหญ่ได้จัดให้อย่างเหมาะสมนั้น ดังนั้น หน้าที่ของผู้ใหญ่ไม่ใช่การสอนให้เด็กเรียนรู้ หากเป็นการเฝ้าสังเกตุ และพร้อมที่จะปรับสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กที่จะพัฒนาขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ โดยจะต้องทำตลอดเวลา เด็กก็จะมีโอกาสที่จะพัฒนาได้อย่างง่ายดาย และเต็มศักยภาพ
มอนเตสซอรี่นั้นเชื่อว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่เด็กกำลังพยายามสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ซึ่งความรู้สึกนี้จะเป็นพี้นฐาน และส่งผลถึงอนาคตของตัวเด็กเอง ดังนั้นหากเด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความมั่นใจ มีความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ เด็กก็จะสามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ในอนาคต
การเรียนการสอน แบบมอนเตสซอรี่นั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ
1.) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต : เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ระเบียบวินัย เป็นตัวของตัวเอง สามารถตัดสินใจเองได้ รวมทั้งเรียนรู้การใช้ร่างกายส่วนต่างๆ
2.) กลุ่มประสาทสัมผัส : เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ (สัมผัสทั้ง5) ร่วมถึงการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการสำรวจสิ่งต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3.) กลุ่มวิชาการ : เพื่อปูพี้นฐานที่สำคัญให้กับเด็ก เกี่ยวกับเรื่องของจำนวน การนับ การอ่าน และการเขียน โดยการเรียนรู้จะผ่านทางอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่นามธรรม
เนื้อหาสำคัญของการเรียน การสอนแบบมอนเตสซอรี่
- ให้ความสำคัญเป็นตัวบุคคล เด็กแต่ละคนมีศักยภาพที่แตกต่างกัน โดยเอาตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง
- สำหรับเด็กก่อนปฐมวัย และปฐมวัย สามารถคละห้องเรียนกันได้ เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการพัฒนาด้านสังคม
- ไม่มีการให้รางวัล เมื่อทำได้ถูก
- ไม่มีการลงโทษ หรือตำหนิ เมื่อไม่สามารถทำสิ่งต่างๆได้
- ไม่มีการเปรียบเทียบ เพราะทุกคนแตกต่างกัน
- ปลูกฝังความมีน้ำใจ ช่วยเหลือกัน และรู้จักการให้อภัย
- ฝึกให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง และช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัย
- ไม่เร่งรัดด้านวิชาการ แต่ถ้าเด็กมีความพร้อมก็จะไม่ปิดกัน
ที่มา ค้นหาโรงเรียนในดวงใจ
Comments
Post a Comment