Skip to main content

กลยุทธ์ ในการวางเป้าหมาย


   การที่คนเราจะประสบความสำเร็จได้นั้น อย่างแรกที่เราจำเป็นจะต้องทำ ก็คือ"การตั้งเป้าหมาย" จากนั้นเราจึงมาทำการวางแผน และสุดท้ายก็คือ การลงมือทำตามแผนการที่เราได้วางไว้นั้นจนกระทั้งประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ในที่สุด 

   แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจที่ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมาก ที่ใช้ชีวิตโดยไม่มีการวางแผนการใดๆเลย โดยมีเหตุผลต่างๆนาๆเช่น ไม่เข้าใจความสำคัญของเป้าหมาย (ไม่รู้ว่าจะตั้งเป้าหมายอย่างไร) หรือกลัวความล้มเหลว (ไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ได้)

   การที่เราไม่วางเป้าหมายอะไรเลยนั้น จะส่งผลให้เราไปไม่ถึงจุดหมายที่เราต้องการ เหมือนกับการเดินทางโดยไม่มีแผนที่นำทาง ดังนั้นหากเราต้องการที่จะประสบความสำเร็จอะไรสักอย่างให้ได้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องทำการวางเป้าหมาย ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้หลักการ "GOALS"

โดย

  G  :  Get to it  คือ เริ่มลงมือทำทันที ทุกเป้าหมายจะสำเร็จได้ ก็ต้องเริ่มมาจากการเริ่มลงมือทำ "หนทางหมื่นลี้ ยอมเริ่มด้วยก้าวแรกเสมอ"

  O  :  Opportunity  คือ โอกาสที่จะได้ทำ หากยังไม่มีโอกาสนั้น เราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาโอกาสเหล่านั้นมาด้วยตัวของเราเอง

  A  :  Ability  คือ ความสามารถที่เราจำเป็นจะต้องมีอย่างเพียงพอที่จะทำตามเป้าหมายที่เราต้องการได้

  L  :  Leadership  คือ ความเป็นผู้นำ สำหรับทั้งเรื่องส่วนตัว และ เรื่องงาน โดยคุณจำเป็นจะต้องมี และแสดงความเป็นผู้นำออกมา เพื่อให้คุณสามารถที่จะก้าวไปข้างหน้า และสามารถไปจนถึงจุดหมายได้

  S  :  Stay with it  คือ  ความอดทนที่จะไ้ม่ยอมแพ้ เลิกล้มอะไรลงไปกลางคัน ก่อนที่จะไปถึงเป้าหมาย เพียงเพราะพบกันความยากลำบาก


ที่มา : หนังสือ The Traits of champions

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก...

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3...

แผนภาพวาดให้เป็น เก่งนำเสนอ

ผู้เขียน  :  Yamda Masao แปลโดย ประวัติ เพียรเจริญ ISBN  :  978-974-443-460-9 ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2012 จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. จำนวนหน้า  :  272 หน้า ราคา  :  220 บาท สรุปเนื้อหาสำคัญ    หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นหนังสือที่สอนวิธีการวาดภาพ แต่เป็นหนังสือที่สอนให้ใช้รูปภาพ (หมายถึง แผนภูมิ, กราฟ และตารางต่างๆ) เพื่อใช้ในการนำเสนอสิ่งต่างๆ ความคิดเห็น ข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้คนอ่านสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะความคิดของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน การนำเสนอความคิดด้วยภาพจึงมีความสำคัญมาก  "ความคิดถึงแม้จะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ก็ไร้ประโยชน์"    โดยมีการแยกสัดส่วนของเนื้อหาได้ดี มีการสรุปเป็นหัวข้อๆ ให้เข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ  สารที่ต้องการสื่อออกไป เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดออกไปให้ชัดเจน และเรียยเรียงอย่างมีระบบ รูปแบบ หรือกรอบความคิดที่จะใช้สำหรับสื่อสาร "สาร" ออกไป เช่นเป็นตารางข้อมูล เ...