Skip to main content

กลยุทธ์ ในการเขียน Business Plan

Business Plan เปรียบเสมือนแผนที่สำหรับการดำเนินการทางธุรกิจ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก มันต้องมีความครอบคลุมในทุกๆด้านที่มีผลกระทบกับการทำธุรกิจ โดยหลักในการเขียน Business Plan มีสิ่งสำคัญในการเขียนเป็นหัวข้อหลักๆ ดังนี้


   1.) Products or services  :  สินค้า หรือ บริการ คืออะไร สิ่งที่คุณกำลังนำเสนอให้กำลังนำเสนอให้กับลูกค้าคืออะไร ลูกค้าจะได้ประโยชน์อะไร และทำไมลูกค้าถึงต้องการสินค้า หรือบริการของเรา

   2.) Target Customer  :  กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร โดยอาจจะแบ่งเป็นช่วงอายุ ตามสถานที่ ตามเพศ ตามรายได้ ฯลฯ 

   3.) SWOT analysis  :  วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน รวมถึงอุปสรรค์และแรงส่งของเรา เพื่อให้เราสามารถมองเห็นตัวเราเองได้อย่างชัดเจนขึ้น โดยจุดแข็ง และจุดอ่อนเป็นการวิเคราะห์ภายในตัวของเราเอง หรือบริษัทของเรา ส่วนซึ่งเราสามารถแก้ไขปรับปรุงเองได้ ส่วนอุปสรรค์ และแรงส่งนั้นเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกตัวเรา ซึ่งเราไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขปรับปรุงสิ่งต่างๆเหล่านั้นด้วยตัวเองได้

   4.) Marketing Strategies  :  กลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อชี้ให้เห็นว่าเราจะใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างไร ในการทำตลาดสินค้าและบริการของเรา เราจะวางตำแหน่งทางการตลาดสำหรับสินค้า และบริการของเราอย่างไร โดยใช้ส่วนผสมทางการตลาด

   5.) Production needed  :  เรามีความจำเป็น หรือแผนการในการผลิตอย่างไร รวมถึงการบริหาร supply chine และการบริหารวัสดุเฉพาะต่างๆ

   6.) Budget / Income  :  สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างคือ การคำนวนและ ประเมินยอดขาย อันเป็นส่วนที่จะบอกเราว่าเราจะมีรายได้เป็นเท่าไร มาจากที่ไหน รวมถึงต้องมีการประเมินค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการทั้งหมด กล่าวคือ ในส่วนนี้จะเป็นส่วนสรุปว่า การดำเนินการของเรานั้นจะมีผลกำไร หรือไม่ มากน้อยเพียงใด หรือจะขาดทุนหรือไม่

สรุปว่า ในการเขียนแผนธุรกิจนั้น จะเป็นส่วนที่ทำให้เรารู้ว่าธุรกิจนั้นๆ จะสามารถทำให้เป็นจริงได้หรือไม่ ทำแล้วจะสามารถทำกำไรได้หรือไม่ จะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ ร่วมทั้งมีความน่าสนใจที่จะร่วมลงทุนด้วยหรือไม่  

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma