Skip to main content

ปิ๊งด้วยภาพ = The Back of the NAPKIN Solving problems and selling ideas with picture =


ผู้เขียน  :  แดน โรม
แปล  :  สีนวล ฤกษ์สิรินุกุล
ISBN  :  978-616-14-0035-4
ปีที่พิมพ์  :  2011  /  Original 2008
สำนักพิมพ์  :  Book Time
จำนวนหน้า  :  296 หน้า
ราคา  :  370 บาท 

สรุปเนื้อหาสำคัญ
   ในการแก้ปัญหา หรือระดมสมอง วิธีการที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายที่สุด คือการสื่อสารด้วยภาพ (โดยที่คุณไม่จำเป็นที่จะต้องวาดภาพเป็นเลย) โดยใช้หลักการ 3 - 4 - 5 - 6

3  :  3 เครื่องมือพื้นฐานที่เราทุกคนมีอยู่แล้ว
       1) ตาของเรา เพื่อเก็บข้อมูลตามความจริง
       2) ตาในใจ เพื่อเห็นสิ่งที่เป็นในจินตนาการ
       3) การประสานงานระหว่างมือ กับตา เพื่อสร้างภาพนั้นออกมา




4  :  4 ขั้นตอนที่เราทุกคนสามารถทำได้กันอยู่แล้ว
       1) การดู เป็นการรับข้อมูลโดยรวม
       2) การเห็น เป็นการเจาะลึกข้อมูลในส่วนที่เราให้ความสนใจ (โดยใช้หลักการ 6 วิธีการในการเห็น และแสดงออก)
       3) การจินตนาการ เป็นการสร้างภาพที่ยังไม่มีอยู่จริงออกมา (โดยใช้หลักการ 5 คำถามที่ใช้เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองด้าน) ซึ่งในส่วนนี้เองที่มีความสำคัญเพราะมันคือการคิดเพื่อแก้ปัญหา หรือสร้างความคิดใหม่ๆให้เกิดขึ้น
       4) การแสดงออก มันเป็นการระเบิดความคิด หรือภาพที่เราได้สร้างขึ้นมาในขั้นตอนการสร้างจินตนาการออกมาให้เป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับตอนที่เรารับข้อมูลเข้ามา เราจะใช้หลักการ 6 วิธีการในการเห็น และแสดงออกมาช่วยในการสร้างภาพ

5  :  5 คำถามที่ใช้เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองด้าน (SQVID technique) 
       1) S  :  Simple or Elaborate  เรียบง่าย หรือ ขยายความ
       2) Q  :  Qualitative or Quantitative  เชิงคุณภาพ หรือ เชิงปริมาณ
       3) V  :  Vision or Execution  เชิงวิสัยทัศน์ หรือ เชิงปฎิบัติการ
       4) I  :  Individual or Comparison  เชิงเดียว หรือ เชิงเปรียบเทียบ
       5) D  :  Change or Status Quo  มีการเปลี่ยนแปลง หรือ คงสถานะปัจจุบัน

6  :  6 วิธีการเห็น และวิธีการแสดงออก (4W2H)


       1) What / Who  สิ่งที่เรากำลังมอง หรือคิด คืออะไร หรือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร
       2) How many / How much  สิ่งที่เรากำลังมอง หรือคิด มีจำนวนเท่าไร ปริมาณมากหรือน้อย ขนาดเป็นอย่างไร
       3) Where  สิ่งที่เรากำลังมอง หรือคิดนั้นอยู่ตรงไหน ใกล้หรือไกล 
       4) When  สิ่งที่เรากำลังมอง หรือคิดนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ก่อนหรือหลัง
       5) How  สิ่งที่เรากำลังมอง หรือคิดนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร (จาก 4 ขั้นตอนด้านบน เราต้องจับมันมาสร้างความสัมพันธ์กัน ว่าสิ่งต่างๆนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร)
       6) Why  สิ่งที่เรากำลังมอง หรือคิดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือทำไมมันจึงเกิดขึ้น

และนี้คือบทสรุปของการปิ๊งด้วยภาพ  









Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma