Skip to main content

Andy & Me เซ็นเซ กับ ผม



ผู้เขียน  :  Pascal Dennis
แปลโดย  :  ดร.วิทย สุหฤทดำรง และ ธัญธร ขจรรุ่งศิลป์
ISBN  :  978-974-7628-64-7
ปีที่พิมพ์  :  2007
สำนักพิมพ์  :  E.I.SQUARE
จำนวนหน้า  :  241 หน้า
ราคา  :  260 บาท 



สรุปเนื้อหาสำคัญ
   เป็นหนังสือที่สอนเกี่ยวกับเรื่อง LEAN และ วิถีการทำงานในแบบ โตโยต้า (TPS) ในรูปแบบของเรื่องเล่าผ่านตัวละครสำคัญคือ ทอมมี่ (ผู้ทำงานเป็นผู้จัดการโรงงานผลิตรถยนต์แห่งหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก และอาจจะถึงขั้นต้องปิดโรงงานในไม่ช้า) และ แอนดี้ (ผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง TPS หรือ LEAN production อดีตยอดฝีมือแห่งโตโยต้า)

   ถึงแม้ในหนังสือจะไม่ได้ให้รายละเอียดในการทำ TPS อย่างละเอียดขนาดจะเอาไปทำให้เกิดผลได้เอง แต่สิ่งที่หนังสือเล่มนี้ให้อย่างมากคือ แนวทาง และแนวคิดที่แสดงออกอย่างชัดเจนผ่านทางตัวละครหลัก เช่นการมีของเกะกะตามทางเดิน คือความผิดปกติ เพราะมันอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ จำเป็นจะต้องมีมาตราการแก้ไข และป้องกันให้ดี

   หัวใจของระบบ TPS อย่างง่ายๆคือ การผลิตให้พอดีกับความต้องการของลูกค้านั้นเอง ซึ่งจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อเรามีการออกแบบระบบการผลิต และแทคไทม์มาเป็นอย่างดีก่อน โดยเราจะต้องทำการขจัดกระบวนการผลิตที่สูญเปล่า 

"หัวใจสำคัญของการเพิ่มผลิตภาพการทำการผลิตนั้น ไม่ได้อยู่ที่การผลิตให้มากขึ้นกว่าเดิม แต่อยู่ที่การใช้แรงงานให้น้อยลง"

ความสูญเสียที่สูญเปล่า 7 ประการประกอบด้วย
๑. การผลิตที่มากเกินไป
๒. การมีสินค้าคงคลัง
๓. การขนส่ง
๔. ความล่าช้า
๕. ความสูญเปล่าที่เกิดจากกระบวนการลผลิต
๖. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่ไร้ประโยชน์
๗. ชิ้นงานที่มีปัญหาคุณภาพ

   ในเรื่องการปรับเปลี่ยนองค์กรที่มีปัญหาอย่างมากมาย เริ่มจากการรู้จักตัวเองให้มากขึ้น คือต้องมีการสร้างการรับรู้ร่วมกัน โดยใช้กระดานวิเคราะห์การผลิต (Production Analysis Board) หลักการคือ รับรู้ร่วมกัน มองเห็นร่วมกัน และลงมือทำร่วมกัน 

   แน่นอนว่าในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเราจะเจอผู้คนอยู่ 3 แบบหลักๆ คือ พวกลงมือพายเรือ (10%) พวกเฝ้ามอง (80%) และพวกราน้ำ (10%) หลักการสำคัญคือ จะต้องหาพวกคนพายเรือให้เจอ จะต้องให้กำลังใจกับคนเหล่านี้ และจะต้องลดความสำคัญของพวกราน้ำซะ (เพราะยังไงคนกลุ่มนี้ก็ยากที่จะกลับมาเป็นคนพายเรือ) หากสิ่งที่เราพยายามจะทำเป็นสิ่งที่ดีจริง ในที่สุดพวกคนที่เฝ้าดูก็จะกลายมาเป็นคนพายเรือในที่สุด

ผมคิดว่านี้เป็นหนังสือที่อ่านได้ง่าย และสนุกดี เป็นหนังสือที่ต้องอ่านเลยนะครับ อย่างไรก็ตามเนื่องจากที่มันออกจะเป็นละคร และอ่านง่ายดังนั้นหากคุณคาดหวังที่จะได้เนื้อหาเรื่อง LEAN หรือ TPS แบบเต็มๆ ละเอียดๆ ผมคิดว่านี้ไม่ใช่หนังสือที่คุณมองหานะครับ

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma