Skip to main content

คนแพ้มองแต่ปัญหา คนชนะมองหาทางออก



ผู้เขียน  :  คิม ซอง โฮ  
แปล  :  ภัททิรา จิตต์เกษม
ISBN  :  978-616-18-0298-1
ปีที่พิมพ์  :  2015  /  Original 2012
สำนักพิมพ์  :  อมรินทร์
จำนวนหน้า  :  232 หน้า
ราคา  :  195 บาท 

สรุปเนื้อหาสำคัญ
   "คนที่ตั้งใจทำงานจะมองเห็นวิธี คนที่ไม่ตั้งใจทำจะมองเห็นข้อแก้ตัว"  เป็นคำกล่าวที่ดูจะจริงอยู่ไม่น้อย สิ่งที่อันตราสำหรับธุรกิจนั้นคือ การขาดความคิดริเริ่มใหม่ๆ โดยมักจะพอใจอยู่กับสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากเกินไปนั้นเอง

   การปรับตัว และการริเริ่มทำเรื่องใหม่ๆเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ฟูจิฟิล์มที่ได้ทำเมื่อเกิดปัญหากับตลาดฟิล์มเมื่อปี 2004 โดยตลาดมีขนาดลดลงเหลือเพียง 1 ใน 13 สิ่งที่ฟูจิทำคือ อดทนยอมรับการเปลี่ยนไปของ อุตสาหกรรมโดยจะต้องมีความกล้าที่จะพลิกอุตสาหกรรมให้มีความหลากหลาย โดยฟูจิขยับเข้ามาสู่ธุรกิจเครื่องสำอาง โดยการปรับเปลี่ยนองค์กรขนานใหญ่ 
   ในขณะที่ยักย์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมฟิล์มคือ โกดักที่ไม่สามารถที่จะปรับตัวได้จึงต้องมีอันจบลง

   ตัวองค์กรเองไม่ได้มีความสามารถด้วยตัวมันเอง ความสามารถขององค์กรคือ ความสามารถของบุคคลากรที่อยู่ในองค์กรนั้นๆ โดยองค์กรจะมีลักษณะอย่างไรนั้น เราสามารถบอกได้จากบุคคลากรส่วนใหญ่ในองค์กร (โดยเฉพาะในระดับสูง) โดยเราสามารถแบ่งคนออกมาได้ทั้งหมด 4 แบบ คือ
   
1.) นักวิจารณ์  :  เรารู้จักคนเหล่านี้ในชื่อ คนที่ทำงานด้วยปากอย่างเดียว พวกเขาจะรู้ดีไปทุกเรื่อง แนะนำได้เป็นฉากๆ แต่อย่าได้หวังว่าพวกเขาจะลงมือทำงานใดๆ พวกเขาจะทำเหมือนกับงานนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวเองเลย ในบริษัทที่คนจำพวกนี้มากๆ ก็จะเป็นบริษัทที่ล้มเหลว

2.)  แบบเฉื่อยชา  :  เป็นคนที่ไม่ค่อยจะมีความมั่นใจ ไม่ทำอะไรเองโดยเด๊ดขาด ต้องสั่งมาตรงๆชัดๆเท่านั้นจึงจะทำ เมื่อมีปัญหาก็จะเอาแต่โทษคนอื่น หากสะสมคนในลักษณะนี้ไว้มากๆบริษัทก็จะล้มสลายอย่างไม่ต้องสงสัย

3.)  แบบคนหัวดื้อ  :  เป็นคนที่ใจร้อน กระตือรือร้นมากเกินไป แต่มีความคิดที่ตื้นเขิน เมื่อมีไอเดียอะไรก็จะมุ่งตรงไปข้างหน้าอย่างเดียว เป็นลักษณะของคนที่จะสร้างเรื่องใหม่ๆขึ้นมาเสมอ แต่มักจะไม่มีความรับผิดชอบให้งานเสร็จสิ้นไปได้ เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเขาจะพร้อมที่ถอยออกห่างจากงานนั้นๆ และไม่สนใจอะไรเลยเหมือนตัวเองไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆเลย

4.)  นักแก้ปัญหา  :  เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูงมีความคิดว่าตัวเองเป็นบริษัท ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับตัวเองเสมอ เป็นคนที่มีความสามารถ กระตือรือร้น และเสียสละ(เอาปัญหาของคนอื่นมารับผิดชอบ)

   ในหนังสือได้กล่าวถึงกรณีศึกษาของบริษัท JAL กับเทคนิคการบริหารของนาย อินาโมริ คะซึโอะ (Inamori Kazuo) ที่ผมชอบมากและคิดว่าเทคนิคการบริหารของเขาค่อนข้างจะไม่เหมือนผู้บริหารระดับสูงโดยทั่วไปจะทำได้ (สนใจไปลองหาอ่านเพิ่มเอานะครับ หน้า 34~43) ต้องยอมรับเลยว่า เพราะหัวข้อนี้ทำให้ผมอยากจะอ่านหนังสือเล่มนี้

   อย่าให้ความรู้สึกว่าทำไม่ได้มาสร้างข้อจำกัดให้กับบริษัท น่าเสียดายที่ยังมีหัวหน้างานอีกจำนวนไม่น้อยที่มักจะมีความคิดว่า "ทำไม่ได้หรอก" อยู่ในใจเสมอ เมื่อหัวหน้างานเองมีความคิดแบบนี้แล้ว เราก็สามารถเดาได้ไม่ยากว่าทีมงานทั้งหมด ก็จะมีความคิดว่าทำไม่ได้ฝังอยู่ในหัวเหมือนกัน ดังนั้นเราจะต้องมีพื้นฐานความคิดว่า "ทำได้" แล้ววิธีการก็จะค่อยๆหลั่งไหลออกมาเอง เราจะต้องฝึกคิดว่า "ถ้าฉันทำไม่ได้นี้สิ แปลก"

   จงคิดจนกว่าจะได้รับคำตอบ เราต้องฝึกที่จะคิดให้รอบด้าน คิดอย่างรอบคอบ เพราะความคิดที่รอบคอบนั้นจะช่วยให้เราสามารถฝ่าฟันปัญหาต่างๆออกไปได้      

   การทำงานจริงๆแล้วคือการท้าทายขีดจำกัด เพราะในการทำงานทุกอย่างจะมีข้อจำกัดเสมอ ทั้งในเรื่องเวลา เงิน กำลังคน และข้อมูล โดยในหนังสือได้มีบทความที่น่าสนใจของบริษัท นิเด็ค คอร์ปอเรชั่น กับวิธีการในการรับมือกับปัญหา ในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ (หน้า 81 ~ 86 น่าอ่านมาครับ และในส่วนของหน้า 187 ~ 191)

   จงอย่าพอใจกับความสำเร็จของตัวเองในอดีต (ตัวอย่างเช่นการล้มลงของบริษัทโนเกีย) เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราหยุดพัฒนา เราก็เริ่มที่จะถดถอยลงแล้ว โดยบริษัทที่มีความพอใจกับความสำเร็จในอดีตจะมีลักษณะพิเศษคือ มีฟองอากาศอยู่เต็มพื้นที่ มีตำแหน่งต่างๆมากมาย การตัดสินใจมีลำดับขั้นตอนมาก และเป็นไปอย่างเชื่องช้า การร่วมมือระหว่างแผนกก็หายไป การเสนอความคิดใหม่ๆก็ไม่เกิดขึ้น

   งานของผู้นำแท้จริงแล้วคือการดูแลหน้างาน เพราะพนักงานระดับล่างที่ดูแลหน้างานจริงนั้น สามารถเป็นได้ทั้งผู้สร้างปัญหา และผู้สร้างความสำเร็จ การที่ผู้นำไม่ได้ลงไปดูหน้างานจริงนั้นจะทำให้ไม่สามารถรับรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ การบริหารงานที่ดีคือ การบริหารความเร็ว ผู้นำต้องสามารถที่จะตอบสนองสิ่งที่เกิดขึ้นที่หน้างานด้วยความรวดเร็วทันเวลา

เป็นหนังสือที่อ่านสนุกดีครับ น่าอ่านมาก มีการยกกรณีศึกษาที่เป็นปัจจุบันทำให้เราสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น สำหรับคนที่ทำงานแล้วเวลาอ่านจะนึกภาพออกเป็นฉากๆเลยที่เดียว เป็นหนังสือที่ต้องอ่านเลยครับ

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma