Skip to main content

เทคนิคในการบริหารเวลา

   ข่าวดีก็คือ คุณไม่ต้องเป็นยอดมนุษย์ หรือผู้วิเศษเพื่อที่จะสามารถจัดการกับเวลาได้ แต่อย่างไงก็ตามคุณจะต้องจัดการกับตัวเอง เพื่อให้ไปจัดการกับเวลาอีกที ในบทความนี้ผมขอเสนอ ๖ วิธีคิด วิธีปฏิบัติเพื่อการบริหารเวลาที่ดี โดยคุณเองก็น่าจะได้แนวคิดดีๆ เพื่อนำไปใช้จัดการกับเวลาของคุณบ้างไม่มากก็น้อย

   ๑.  จดบันทึกกำหนดการต่างๆ รวมไปถึงการจัดเวลาเพื่อทำสิ่งต่างๆอยู่เสมอ เพราะสิ่งที่ทำให้คนเราเสียเวลามากที่สุดก็คือ การไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร ณ เวลาใด ลองคิดดูว่าคุณเองเสียเวลากับการนั้งนึกว่าจะต้องทำไรบ่อย และนานแค่ไหน

   ๒.  จัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆที่คุณจะต้องทำ ต้องไป จำไว้ว่าเราควรจะต้องทำแต่งานที่มีความสำคัญเท่านั้น อย่ามัวเสียเวลากับงานที่ไม่ได้มีคุณค่าแต่อย่างใด และถ้าหากเลือกได้ ให้แน่ใจว่าคุณลงมมือทำงานที่ยาก (และไม่อยากจะทำ) มากที่สุดเสียก่อน "จงกินคางคกตัวที่อ้วนที่สุดก่อนเสมอ"

   ๓.  จงอย่ากลัวที่จะ "ปฏิเสธ" ต่อสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงาน หรือกิจกรรม ที่เราเห็นแล้วว่าไม่ได้มีความสำคัญใดๆ กับเรา เรื่องนี้จริงๆแล้ว สำหรับคนไทยเราเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะยากมาก เพราะเรามีความเกรงใจสูง (พวกฝรั่งก็งง ทำไมต้องทำในเมื่อไม่มีประโยชน์ และไม่อยากทำ) แต่หากเราไม่กล้าที่จะปฏิเสธเวลาอันมีค่ามาก และมีอยู่อย่างจำกัด ก็จะถูกสิ่งต่างๆเหล่านั้นแย่งเวลาไปเสียหมด จงซื่อสัตย์ต่อตัวเอง และกล้าที่จะทำในสิ่งที่จำเป็นมากกว่า

   ๔.  สร้างสภาวะที่เหมาะสมกับการทำสิ่งต่างๆ ให้เสร็จโดยไม่มีการเบี้ยงเบนความสนใจออกไป เมือเราตั้งใจกับมัน (focus) เราก็จะสามารถทำสิ่งต่างๆเหล่านั้นให้เสร็จสิ้นได้ โดยเร็ว รวมไปถึงการจัดระเบียบเพื่อไม่ให้เราต้องเสียเวลาในการตามหาอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นด้วย

   ๕.  มอบหมายงานออกไป สำหรับงานที่มีความสำคัญน้อยลงมา และอาจจะไม่ต้องเป็นคุณเท่านั้นที่จะทำได้ จงมอบหมายงานต่างๆเหล่านั้นออกไป มอบหมายความรับผิดชอบให้ทีมงานของคุณเป็นคนทำ โดยมีคุณเป็นคนบริหารให้งานเสร็จสมบูรณ์อย่างที่มันควรจะเป็น ขอให้จำเอาไว้ว่า "คุณไม่สามารถที่จะทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียวได้ ไม่งั้นจะมีทีมงานไว้ทำไม" และอีกอย่าง ความล้มเหลวของงานไม่ได้เป็นเพราะทีมงานคุณไร้ความสามารถ แต่โดยมากสาเหตุมักมาจากการที่คุณไม่สามารถอธิบายถึงเป้าหมายที่ชัดเจนให้กับทีมงานได้ ดังนั้นจงให้แน่ใจว่าคุณได้อธิบาย และเตรียมสิ่งที่จำเป็นต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว

   ๖.  จงจำกฏ 80/20 ไว้ให้ดี และที่สำคัญอย่าลืมที่จะใช้มันด้วย เพราะงานทุกอย่างความสำคัญ 80% มาจากเนื้องานเพียง 20% เท่านั้น อย่าปล่อยให้ความสมบูรณ์แบบมาทำให้คุณต้องถมเวลาอีกกว่า 80% เพื่อให้ได้งานที่ดีขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย "งานที่เสร็จแล้ว ยังไงก็ดีกว่า งานที่สมบูรณ์แบบที่ยังทำไม่เสร็จ" บางครั้งเราก็จำเป็นที่จะต้อง Let's it Go, Let's it Gooooo.

ขอให้ทุกท่านสนุกไปกันการจัดการเวลานะครับ

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก...

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3...

แผนภาพวาดให้เป็น เก่งนำเสนอ

ผู้เขียน  :  Yamda Masao แปลโดย ประวัติ เพียรเจริญ ISBN  :  978-974-443-460-9 ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2012 จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. จำนวนหน้า  :  272 หน้า ราคา  :  220 บาท สรุปเนื้อหาสำคัญ    หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นหนังสือที่สอนวิธีการวาดภาพ แต่เป็นหนังสือที่สอนให้ใช้รูปภาพ (หมายถึง แผนภูมิ, กราฟ และตารางต่างๆ) เพื่อใช้ในการนำเสนอสิ่งต่างๆ ความคิดเห็น ข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้คนอ่านสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะความคิดของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน การนำเสนอความคิดด้วยภาพจึงมีความสำคัญมาก  "ความคิดถึงแม้จะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ก็ไร้ประโยชน์"    โดยมีการแยกสัดส่วนของเนื้อหาได้ดี มีการสรุปเป็นหัวข้อๆ ให้เข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ  สารที่ต้องการสื่อออกไป เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดออกไปให้ชัดเจน และเรียยเรียงอย่างมีระบบ รูปแบบ หรือกรอบความคิดที่จะใช้สำหรับสื่อสาร "สาร" ออกไป เช่นเป็นตารางข้อมูล เ...