Skip to main content

กลยุทธ์การลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนสูง



ผู้เขียน  :  Mohnish Pabrai
ผู้แปล  :  พรชัย รัตนนนทชัยสุข
ISBN  :  9786169098461
ปีที่พิมพ์  :  2559
สำนักพิมพ์  :  Wisdom World Press
จำนวนหน้า  :  208 หน้า
ราคา  :  220 บาท 

สรุปเนื้อหาสำคัญ

   หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่สอนเกี่ยวกับหลักการลงทุนที่เน้น การจำกัดความเสี่ยง หรือพูดง่ายๆคือ การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยเน้นที่การประหยัด การลงมือทำด้วยตัวเอง การลงทุนแบบเน้นความแน่นอน การลงทุนแบบเน้นๆ เฉพาะที่มีแต้มต่อจริงๆ 

   ในหนังสือจะแยกอธิบายเป็นบทย่อย หลายๆบท โดยยกตัวอย่างที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด อย่างไรก็ตามแต่ล่ะคนอ่านแล้วก็อาจจะได้บทสรุปที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเน้นที่ตรงจุดไหนมากกว่า

   สำหรับตัวผมแล้วผมคิดว่าโดยย่อแล้ว แนวคิดการลงทุนแบบ Dhandho นั้นมีอยู่ ๖ ข้อหลักๆ คือ

๑.  มุ่งเน้นไปที่การลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้ว มียอดขายอยู่แล้ว มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว เพราะจะได้มีเงินหมุนกลับมาจากการลงทุนนั้นได้อย่างรวดเร็ว

๒.  มุ่งเน้นไปที่การลงทุนในธุรกิจที่มีความเรียบง่าย เข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อน และควรจะเป็นธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงต่ำๆ เพื่อจำกัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับการลงทุน

๓.  อย่ากลัวที่จะลงทุนในธุรกิจที่กำลังมีปัญหา เพราะเราจะสามารถลงทุนได้ในราคาที่ถูกอย่างเหลือเชื่อ และจะส่งผลให้มีโอกาสที่จะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลอีกด้วย

๔.  มุ่งเน้นการลงทุนไปในธุรกิจที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่นการเป็นผู้นำตลาด การมีโครงสร้างต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง หรือการมีการปกป้องจากกฏหมาย

๕.  จงกล้าที่จะลงทุนอย่างหนัก เมื่อมีโอกาสที่เอื้ออำนวย คือการมีแต้มต่อมากๆ และแต้มต่อนั้นไม่ใช่การคิดเข้าข้างตัวเอง

๖.  ในความเป็นจริงแล้ว การเลียนแบบความสำเร็จนั้น สามารถทำได้ง่ายและมีโอกาสสำเร็จมากกว่าการพยายามสร้างสิ่งใหม่ โดยเริ่มทำทุกอย่างทั้งหมดใหม่ด้วยตัวเอง

   เป็นหนังสือที่อ่านได้สนุกมาก เหมือนอ่านนิยายการทำธุรกิจ สามารถอ่านเข้าใจได้ง่ายๆ แม้จะไม่มีพี้นฐานเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจมาก่อน เป็นหนังสือที่ผมแนะนำให้ต้องอ่านเลยครับ

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma