Skip to main content

รักลูกมากแค่ไหน ถึงจะถือว่ามากเกินไป

 ในฐานะ คนที่เป็นคุณพ่อ คุณแม่ ทุกคนล้วนแต่มีความรู้สึกรักลูก และอยากให้ลูกมีความสุขมากที่สุดด้วยกันทั้งนั้น 

อย่างไรก็ตามเราเองก็ต้องตระหนักว่า สิ่งที่เราพยายามทำให้เด็กมีความสุขในวันนี้ อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เขามีความทุกข์ ในอีก สิบ หรือยี่สิบปีต่อมาก็ได้


ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่อย่างเราควรจะต้องทำก็คือ 

การเตรียมความพร้อมของเด็กให้พร้อมที่จะรับมือกับโลก(แห่งความเป็นจริง) ในอนาคตได้ ไม่ใช่การสร้างโลก (หลอกๆ) เพื่อให้เด็กอาศัยอยู่)


-----


ความผิดพลาด 5 ประการที่เรา (พ่อแม่) ทำกันโดยไม่รู้ตัว


อันดับ ๑  การบูชาเด็ก (ไม่ใช่การบูชายันต์นะครับ) 

ทุกวันนี้เราให้ความสำคัญกับเด็กมาก โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางของทุกเรื่อง (Child-Centered) โดยไม่ได้ตั้งใจเรากำลังทำให้เด็กกลายเป็น "ลูกเทวดา"


เช่น เวลาเด็กต้องการอยากได้อะไร หรืออยากให้เราซื้ออะไรให้ แล้วเราเองก็ทำ ก็ซื้อของทุกอย่างให้ทั้งหมด เราอาจจะไม่ได้กำลังทกให้เด็กมีความสุขก็ได้ 

แต่เราอาจจะกำลังสอนเด็กให้กลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว คนที่ผิดหวังไม่ได้ รอไม่เป็น คนที่ต้องได้ทุกอย่างที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจเหตุผลอะไร ใดๆทั้งสิ้น


อันดับ ๒  การคิดว่าลูกของเราสมบูรณ์แบบ 

พ่อแม่หลายๆคน รับไม่ได้กับความจริงที่ว่าบางครั้งในบางเรื่องลูกของเรา อาจจะทำได้ไม่ได้ หรือทำได้ไม่ดีเท่าคนอื่นๆ 

เราอาจจะหลอกทั้งตัวเราเอง และเด็กว่า ทำได้ดีแล้ว และในบางครั้งเราอาจจะถึงกับต่อว่าคนอื่นที่มาบอกความจริง(ที่ไม่อยากฟังนี้) กับเราเสียอีกด้วย


เช่น ต่อว่าคุณครูเวลาที่บอกว่า ลูกของเราเขียนหนังสือไม่สวย (โดยไม่คิดจะทำอะไรเพื่อพัฒนาความสามารถของลูกเลย) หรือไม่สามารถทำการบ้าน หรือสอบได้ และจะยิ่งส่งผลร้ายขึ้นไปอีก หากเรา (ไม่ว่าจะต้องใจหรือไม่ก็ตาม) โยนความผิดทั้งหมดไปให้คนอื่น ซึ่งโดยมากก็มักจะไปตกที่คุณครูทั้งหลาย


อันดับ ๓  การเอาความต้องการของตัวเองไปใส่ในตัวเด็ก

แน่นอนว่าคุณพ่อ คุณแม่ทุกคนย่อมอยากให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิต แต่บางครั้งเราก็มักจะเอาสิ่งที่ตัวเราเองต้องการ (ซ้ำร้ายในหลายๆครั้งมักจะเป็น เรื่องที่เราเองทำไม่ได้) ไปใส่ไว้ในชีวิตของเด็ก ดังนั้นต้องอย่าสับสนระหว่างความสุขของเรา (พ่อแม่) กับความสุขของเด็ก


เช่น การบังคับให้ลูกต้องเรียน เปียโน เพราะคุณแม่อยากเล่นได้ แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนเมื่อตอนเป็นเด็ก หรือการพยายามกดดันให้ลูกเรียนหนังสือให้ได้คะแนนสูงๆ เพื่อจะได้เรียนหมด ซึ่งอาจจะเป็นความฝันของคุณพ่อ เป็นต้น


อันดับ ๔  การพยายามให้เด็กเป็นผู้ใหญ่เร็วเกินไป (ขโมยวัยเด็กของเด็กไป) 

การที่เด็กจะวางของเล่นไปทั่ว วิ่งเล่นเสียงดัง หรือการแปะสติกเกอร์ไปทั่วบ้าน เป็นสิ่งน่าปวดหัวของพ่อแม่ แต่การที่เราห้ามอย่างเด็ดขาดในการทำสิ่งเหล่านี้ เรากำลังขโมยวัยเด็ก อันแสนสำคัญสำหรับเด็กไป 

เด็กจะขาดจินตนาการในวัยเด็กไป แน่นอนเราไม่อาจปล่อยให้เด็กทำตามใจทุกอย่างได้ แต่การห้าม (สร้างแรงกดดันกับเด็ก) ตั้งแต่ตอนที่เขายังไม่พร้อม อาจจะส่งผลกับเด็กในระยะยาว การไม่ยอมให้เด็กได้ลองเล่น ก็จะทำให้เมื่อเด็กโตขึ้นไปเด็กก็จะไม่กล้าที่จะลองทำในสิ่งต่างๆ


อันนี้สำหรับผม คิดว่าเป็นความใจแคบของคุณพ่อ คุณแม่นะครับ เพราะหากเด็กไม่ได้เล่นสนุก ซุกซน ในช่วงเวลานี้ของชีวิต คุณพ่อ คุณแม่คิดว่าลูกของเรา จะได้มีโอกาสแบบนี้อีก ณ ช่วงเวลาไหน ของชีวิต เมื่อเป็นวัยรุ่น เมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เมื่อเริ่มต้นชีวิตทำงาน เมื่อเริมมีครอบครัวของตัวเอง เมื่อเริ่มเข้าวัยชรา เขาจะได้เล่นอีกทีตอนไหน แล้ว ณ เวลานั้นความเสียหายจากการ "เล่น" จะมากหรือน้อยกว่าตอนเด็ก รบกวนลองคิดกันดูนะครับ


อันดับ ๕  การพร่ำสอน (แต่คำพูด) แต่ไม่แสดงให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง 

เพราะในเด็กเล็กๆนั้น เด็กจะทำตามในสิ่งที่เขาเห็นตัวอย่าง ไม่ใช่ในคำพูดที่สอนเขา


เช่น "อย่าดูโทรทัศน์มากเกินไปนะ" แต่พ่อกับแม่ยังไม่ละสายตาจากหน้าจอเลย แม้แต่ตอนที่กำลังสอน (บ่น) ลูกอยู่

หรือ "อย่าตีคนอื่นนะ" แต่พ่อแม่ลงไม้ลงมือ ทะเลาะกันเองให้เด็กได้เห็นอยู่เป็นประจำ 

หรือ "อย่าพูดคำหยาบนะ" แต่พ่อแม่นี้ขุดภาษาสมัยพ่อขุนรามมาใช้เป็นประจำ ด่าทอกันจนเป็นเรื่องปกติ


จงเป็นตัวอย่างให้เด็กได้ทำตาม อย่าเอาแต่พูดสอน

การพูดสอนมันง่ายกว่าการทำแน่นอน

อย่าหาข้ออ้างอะไร หากคุณพ่อ คุณแม่ไม่สามารถทำให้เป็นตัวอย่างได้

เด็กก็จะไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่กำลังพยายามสอนได้

กลับกัน เด็กจะทำการเลียนแบบในสิ่งที่เด็กมองเห็นเป็นหลัก


ที่มา  http://www.huffingtonpost.com/


อย่าทำตัวเป็นพ่อแม่รังแกฉัน

บางครั้งการขัดใจเด็ก ในสิ่งที่ควรจะต้องขัด

บางครั้งการสอนสิ่งที่ดี ก็ไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ

แต่ทุกอย่างที่เราทำ เพื่อให้ลูกของเราได้สิ่งที่

เราเชื่อว่ามันจะเป็นผลดีกับเขาในอนาคต

นั้นคือสิ่งที่ คุณพ่อ คุณแม่ อย่างเราๆต้อทำ

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma