Skip to main content

 ชื่อกีฬา

ปิงปอง



การเล่นอย่างสั้นใน 7 ข้อ


1 มีการแข่งแบบบุคคลเดี่ยว กับแบบทีมคู่ (มีได้ทั้ง ทีมแบบชายคู่ หญิงคู่ และคู่ผสม)


2 แข่งขันกันตีลูกปิงปอง (ลูกพสาติกขนาดเล็ก) ให้ข้ามไปยังฝั่งตรงข้าม โดยมีตาข่ายกันตรงกลาง โดยใช้ไม้สำหรับตีปิงปองในการตีลูก และจะได้คะแนนเมื่อสามารถตีลูกข้ามตาข่าย ลงในเขตแดนฝั่งตรงข้าม แล้วฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถตีลูกกลับมาได้ (โดยต้องให้ลูกตกพื้นได้เพียง 1 ครั้งก่อนเท่านั้น) รวมถึงการตีไม่ข้ามตาข่าย และการตีออกนอกโต๊ะด้วย


3 โต๊ะปิงปองมีความกว้างอยู่ที่ 1.5 เมตร,ความยาวอยู่ที่ 2.7 เมตร และสูง 76 เซ็นติเมตร (โดยประมาณ) และตาข่ายสูง 15 เซ็นติเมตร


4 ไม่ว่าจะเป็นการแข่งแบบ บุคคลเดียว หรือแบบคู่ ขนาดของโต๊ะปิงปองจะไม่มีความแตกต่างกันเลย (คือ มีขนาดเดียวเลยทุกประเภท)


5 การเสิร์ฟลูกเริ่มเล่น จะเริ่มเสิร์ฟจากทางขวามือก่อนเสมอ โดยการเสิรฟ์ลูกนั้นผู้เสริฟ์จะต้องเสิร์ฟให้ลูกกระดอนในด้านขวาของฝั่งตัวเอง 1 ครั้งก่อน และจะต้องไปตกลงที่ด้านขวาของฝั่งที่รับด้วย (ตกในมุมที่ตรงข้ามกับที่ผู้เสิร์ฟ เสิร์ฟลูกออกไป)เท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะนับว่าเป็นการเสริฟ์เสีย ซึ่งจะทำให้เสียคะแนน ปกติการเสริฟ์จะสลับกันข้างล่ะ 2 ครั้ง


การชนะ

ฝ่ายที่สามารถเก็บ เกม ได้ครบตามที่กำหนดก่อนจะเป็นผู้ชนะ โดยแต่ล่ะเกม ฝ่ายที่สามารถได้ 11 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายที่ได้เกมนั้นๆไป โดยปกติจะแข่งกัน 2 ใน 3 เกม หรือ 3 ใน 5 เกม


-----


ปิงปอง แทบจะเป็นกีฬาบังคับของเด็กไทยในยุคผมตอนเรียน มัธยมเลยนะครับ ทุกเช้า กลางวัน เย็น ต้องมีการเล่นปิงปอง ทั้งบนโต๊ะปิงปองจริงๆ หรือทุกพื้นผิวโต๊ะที่หาได้ โต๊ะเรียนมาเรียงกัน โต๊ะโรงอาหาร แผ่นไม้เรียบๆ (ขนาดไม่ใช่ปัญหาของเรา)


ไม้ปิงปองนี้เหมือนเป็นหนึ่งในหนังสือเรียน ต้องมีติดกระเป๋าตลอด (แต่ผมไม่เคยพกลูกปิงปองไปนะครับ จำไม่ได้ด้วยว่าใครพอลูกไปด้วย แต่ขอบคุณมากที่ทำให้เราได้เล่นกัน)


ปิงปองเป็นกีฬาที่เล่นได้สนุก กฏไม่ซับซ้อน อุปกรณ์ไม่มาก แต่กลับดูทาง TV ได้ยากมาก น่าจะเพราะความเล็ก และเร็วของการเล่น ทำให้มากเห็นค่อนข้างจะยาก (แม้ปัจจุบัน ขนาดของ TV จะช่วยได้มากขึ้นแล้วก็ตาม)

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma