Skip to main content

สร้างธุรกิจส่วนตัวด้วยไอเดียสร้างสรรค์ - วิธีเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นความร่ำรวย


ผู้เขียน  :  ก้อง เกียรติวิชญ์

ISBN  :  978-ุ616-236-337-5
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2013
จัดพิมพ์โดย  :  Think Beyond
จำนวนหน้า  :  256 หน้า

ราคา  :  185 บาท

สรุปเนื้อหาสำคัญ

   ถึงแม้ว่าชื่อของหนังสือจะเขียนไว้ว่า "สร้างธุรกิจส่วนตัวด้วยไอเดียสร้างสรรค์"ก็ตาม แต่เนื้อหาทั้งหมดด้านในไม่ได้กล่าวถึงในส่วนของการสร้างธุรกิจส่วนตัวเลย ในทางตรงกันข้ามหนังสือได้บอกถึงวิธีการที่จะสร้างไอเดีย สร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิธีการต่างๆมากมาย ในส่วนของการนำไปใช้คาดว่าแต่ล่ะคนคงต้อง คิดสร้างสรรค์กันเอง

หัวข้อแนะนำ

  • บทที่๒ คิดกระจายหลากหลายทิศทาง (หน้า๑๘)  :  แทนที่จะตอบคำถามแบบตรงๆ ซึ่งไม่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อะไรเลย และทำให้ได้รับแต่คำตอบแบบเดิมๆ เราควรจะฝึกในการใช้จิตนาการมากขึ้นในการตอบคำถามเดิมๆ
  • บทที่๔ ท้าทายข้อสรุปแบบเก่าๆ (หน้า๓๖)  :  คล้ายๆกับในบทที่๒ คืออย่างไปยึดติดกับข้อสรุปแบบเก่าๆ ความจริงในอดีตไม่จำเป็นจะต้องเป็นจริงในปัจจุบัน และอนาคต เช่นในยุคกลางเราเชื่อกันว่าโลกของเราคือ ศูนย์กลางของจักรวาล "จริงหรือ" หรือเครื่องสำอางต้องบรรจุในขวดราคาแพง
  • บทที่๕ ตีปัญหาให้แตก (หน้า๔๘)  :  "สิ่งที่ท้าทายความคิด คือการพลิกแพลงปัญหาให้เจอด้านที่มีทางออก" การตีโจทย์ให้แตกเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความคิดเป็นอย่างมาก โดยมีการแนะนำเทคนิคในการวิเคราะห์คำถาม เช่น
    • เทคนิคการถาม ทำไม ทำไม ทำไม
    • เทคนิคการถาม What, Why, When, Who, Where and How โดยแยกเป็น Positive and Negative
    • เทคนิค โมเดลดอกบัวบาน เป็นการแยกปัญหาโดยวิเคราะห์สาเหตุออกเป็น ๘ สาเหตุ แล้วนำทั้ง ๘ สาเหตุ มาหาสาเหตุอีก ๘ สาเหตุ ดังนั้นเราจะได้สาเหตุของปัญหาทั้งสิ้น ๖๔ สาเหตุ
    • เทคนิคการวิเคราะห์แบบก้างปลา
  • บทที่ ๘ คิดแตกต่างอย่างมีศิลปะ (หน้า๗๔)  :  เป็นการคิดต่างโดยใช้เทคนิคการคิดแบบ "หมวก ๖ ใบ" ที่คิดค้นโดย Edward de Bono 
    • หมวกสีขาวแห่งข้อมูล เป็นการคิดแบบเอาความจริงล้วนๆมาคิด โดยไม่มีความคิดเห็นใดๆมาปนเลย
    • หมวกสีแดงแห่งอารมย์และความรู้สึก เป็นการคิดแบบใช้อารมย์เป็นหลัก ความรู้สึกล้วนๆ
    • หมวกสีเหลืองแห่งความคิดในแง่ดี เป็นการจับเอาเฉพาะข้อดีของเรื่องใดๆ ขึ้นมาคิดต่อ
    • หมวกสีดำแห่งการมองโลกในแง่ร้าย เปนการจับผิด มองหาข้อบกพร่อง และจุดอ่อนต่างๆ ขึ้นมา เพื่อมองหาสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดออกมา
    • หมวกสีเขียวแห่งความคิดสร้างสรรค์ เป็นคิด ถาม เพื่อหาคำตอบที่หลุดกรอบแหวกแนว แปลกใหม่
    • หมวกสีฟ้าแห่งระบบ เป็นการคิดเพื่อสร้างระบบ หรือสรุปสิ่งต่างๆที่จะต้องทำอย่างเป็นระเบียบ
  • บทที่ ๑๑ ค้นหาไอเดียใหม่ๆ จากสิ่งรอบตัว (หน้า๙๐)  :  เทคนิคคือ "นำสิ่งของมาประลองความสร้างสรรค์" โดยการตั้งเอาปัญหา ๑ อย่าง แล้วเลือกสิ่งของ หรือเหตุการณ์อะไรก็ได้รอบตัวเรามา ๑ อย่าง แล้วพยายามคิดว่าจะเอาของนั้นมาแก้ปัญหาได้อย่างไร (คิดแล้วสนุกดีครับ)
  • บทที่๑๘ อย่ามั่วแต่คิด รีบลงมือทำ (หน้า๑๕๐)  :  ง่ายๆ ชัดเจน ทำมันเดียวนี้ (Take action right now) 
  • บทที่ ๒๑ ทำลายกฎปลดความคิดสร้างสรรค์ (หน้า ๑๗๒)  :  เป็นการเน้นย้ำอีกครั้งว่า "อย่าปล่อยให้ความจริงในอดีต มาบดบังความคิดสร้างสรรค์"
  • บทที่ ๒๕ นำคำถามเก่ามา ถามกลับข้างเพื่อข้ามปัญหา (หน้า ๒๐๘)  :  เป็นเทคนิคที่นำปัญหามาถามกลับข้าง เช่นต้องการแก้ปัญหาไม่ให้น้ำถ่วม ก็ให้ตั้งคำถามว่า จะทำอย่างไรให้น้ำถ่วมดี 

[ผมคิดว่านี้เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากๆ เล่มหนึ่งเลยครับ]
   

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก...

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3...

แผนภาพวาดให้เป็น เก่งนำเสนอ

ผู้เขียน  :  Yamda Masao แปลโดย ประวัติ เพียรเจริญ ISBN  :  978-974-443-460-9 ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2012 จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. จำนวนหน้า  :  272 หน้า ราคา  :  220 บาท สรุปเนื้อหาสำคัญ    หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นหนังสือที่สอนวิธีการวาดภาพ แต่เป็นหนังสือที่สอนให้ใช้รูปภาพ (หมายถึง แผนภูมิ, กราฟ และตารางต่างๆ) เพื่อใช้ในการนำเสนอสิ่งต่างๆ ความคิดเห็น ข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้คนอ่านสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะความคิดของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน การนำเสนอความคิดด้วยภาพจึงมีความสำคัญมาก  "ความคิดถึงแม้จะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ก็ไร้ประโยชน์"    โดยมีการแยกสัดส่วนของเนื้อหาได้ดี มีการสรุปเป็นหัวข้อๆ ให้เข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ  สารที่ต้องการสื่อออกไป เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดออกไปให้ชัดเจน และเรียยเรียงอย่างมีระบบ รูปแบบ หรือกรอบความคิดที่จะใช้สำหรับสื่อสาร "สาร" ออกไป เช่นเป็นตารางข้อมูล เ...