บทความน่าสนใจที่ได้รับจาก line วันนี้
เตือนใจตัวเอง คนเป็นพ่อเป็นแม่ ว่าวันหนึ่ง
ลูกก็จะต้องมีชีวิตของตัวเอง ณ วันที่เขาอาจจะ
ไม่อยากให้เราดูแลใกล้ชิดมากเหมือนตอนเป็นเด็ก
เราก็ต้องรักเขาเหมือนเดิม ด้วยวิธีที่ต่างออกไป
ตามคำสอนของศาสนาพุทธ ว่า ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นอนิจจัง
อย่า “ติดลูก” จนถอนตัวไม่ไหว By พญ.สาริณี
พ่อแม่กลุ่มหนึ่ง จำนวนไม่น้อยทีเดียว กำลังใช้ชีวิตแบบมุ่งหน้าไปสู่ การสร้าง “ความลำบากใจ” ให้ลูก โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
จากประสบการณ์ทำงาน ที่ต้องช่วยแก้ไขปัญหาให้ทั้งพ่อแม่และลูกๆ ของพวกเขามาเป็นหลักสิบปี หมอพบว่าครอบครัวเหล่านี้ มีลักษณะหลายอย่างคล้ายๆ กัน คือ
1. เป็นครอบครัวระดับกลางถึงสูง ทั้งด้านการศึกษาของพ่อแม่ ฐานะการเงินของบ้าน ความตั้งใจอยากสร้างครอบครัว ความอยากมีลูก ความต้องการเลี้ยงลูกด้วยตัวเองอย่างเข้มข้น
เรื่องราวปัญหาที่หมอจะเล่าให้ฟังต่อๆ ไป มักไม่พบในคนยากคนจนเลย
2. พ่อหรือแม่ ใครคนใดคนหนึ่งสละตัวเองออกมาเลี้ยงลูกแบบเต็มเวลา หรือไม่ก็พักความก้าวหน้าเรื่องงานไว้ระยะใหญ่ๆ ขอเลี้ยงลูกให้ได้มากที่สุดก่อน
3. คู่ของคนที่ดูแลลูกเต็มเวลา มักเต็มใจ สนับสนุนแบบสุดตัว ให้อีกฝ่ายทำ “ทุกอย่าง” ที่เกี่ยวกับลูก โดยไม่ปริปากบ่น (ให้ได้ยิน)
4. คนหนึ่งหาเงินไปสักพัก อีกคนเลี้ยงลูกเต็มที่ไปสักพัก สามีภรรยาเริ่ม “ห่างเหินทางอารมณ์” ออกไปเรื่อยๆ
5. ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของเคสที่หมอดูแลอยู่ จะพบปัญหาผู้ชายนอกใจผู้หญิงร่วมด้วย
6. ปัญหานอกใจมักถูกเก็บเป็นความลับ ลูกๆ ในบ้านไม่ทราบ เพราะพ่อแม่ปิดปากเงียบ และพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ให้เด็กๆ รู้ คนที่เริ่มมาพบหมอคือฝ่ายหญิง เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้า
7. สามีภรรยา “พยายาม” ที่จะดำเนินชีวิตสมรสต่อไป ให้เหตุผลเรื่องลูกเป็นสำคัญ ความรู้สึกของตัวเองเป็นเรื่องรอง
8. บ้านที่ไม่ถึงกับมีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยารุนแรงมากนัก มักพบว่าลูกๆ ของบ้านนั้นถูกเลี้ยงมาจนกระทั่งมีความสามารถเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (หรือหลายเรื่อง) ที่พิเศษจริงๆ
เช่น ผลการเรียนโดดเด่น ชนะรางวัลต่างๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน เป็นนักกีฬา ศิลปินประเภทต่างๆ ที่ทำชื่อเสียงได้มาก เป็นต้น
คู่สามีภรรยาที่มีลักษณะดังกล่าวเหล่านี้ มักพบว่าคนเป็นแม่จะ “ติดลูก” อย่างมาก ไปไหนไปกัน มีกิจกรรมร่วมกัน ไปนั่งเฝ้ากัน มีความเชื่อมโยงทางอารมณ์ต่อกันในระดับสูง
ส่วนใหญ่ที่หมอพบ มักไม่มีพ่ออยู่ “ตรงนั้น” ด้วย ส่วนน้อยที่พอเห็นได้ คือ ทั้งพ่อแม่ลูกตัวติดกันสามหรือสี่คน (พ่อแม่และลูกสองคน)
ช่วงเวลาแบบนี้จนถึงก่อนลูกเข้าวัยรุ่น คนเป็นแม่มักมีความสุขอยู่ในเกณฑ์ดี ดูไม่มีปัญหาอะไร เพราะความสัมพันธ์แม่ลูกที่ดูแสนสุขนั้น ช่วย “กลบ” ความทุกข์จากเรื่องอื่นๆ ไว้จนมิด
จนวันหนึ่ง ลูกเข้าวัยรุ่นเต็มตัว ประมาณ ม.1- ม.2 ทุกอย่างดูเหมือน “กลับตาลปัตร” แบบไม่มีเวลาให้คนเป็นแม่ตั้งตัวเท่าไหร่เลย
แม่รู้สึกว่าลูกเปลี่ยนไปมาก ไม่เชื่อแม่ ไม่ฟังแม่ รักเพื่อนมากกว่าแม่ แม่รู้สึกเหมือนเป็นหมาหัวเน่าของลูก น้อยใจลูกอย่างสุดแสน พาลหาเรื่องทะเลาะกับลูกแทบจะตลอดเวลา
บ้านที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน แม่มักจะพูดจาต่อว่าวัยรุ่นในบ้าน ให้ลูกคนที่เหลือ ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ความสัมพันธ์พี่น้องพลอยแย่ลงไปอีกในช่วงเวลานั้น
ส่วนใหญ่คนเป็นพ่อจะลอยตัวจากปัญหา ไม่ได้รู้สึกแย่กับวัยรุ่นเท่าที่ภรรยาตัวเองรู้สึก เพราะก่อนหน้านี้คนเป็นพ่อไม่ได้ตัวติดกับลูกอยู่แล้ว เมื่อลูกถอยห่างออกไปด้วยภาวะเข้าวัยรุ่น พ่อจึงไม่ได้รับผลกระทบมากมายนัก
ส่วนของลูก สิ่งที่เกิดขึ้นคือ “ความลำบากใจ” อย่างที่หมอเขียนไว้ตั้งแต่ย่อหน้าแรกของบทความ
ธรรมชาติของวัยรุ่น ต้องออกห่างจากพ่อแม่ทีละนิด ทำความรู้จักโลกกว้างทีละน้อย ได้มีโอกาสลองผิดลองถูกอย่างจริงจังมากขึ้น
เอาชนะความกลัวต่อความล้มเหลวแบบค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งเติบโตทางความคิด ทางอารมณ์ และทางร่างกายอย่างเต็มที่ในตอนท้าย
เมื่อมีผู้ใหญ่โดยเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่ ซึ่งมีอิทธิพลกับใจของลูกที่สุดในโลกแล้ว
มาเป็นตัว “ขวาง” สิ่งที่สมองของวัยรุ่นสั่งให้เขาทำ เหล่านี้จะสร้างความลำบากใจ ความทุกข์ใจ และความอึดอัดใจให้กับวัยรุ่นเป็นอย่างมาก
อยากออกห่าง พ่อแม่ก็จะตามติด
อยากขอความช่วยเหลือ พ่อแม่ก็เอาแต่ตัดพ้อว่า “ทีอย่างนี้ล่ะมาหา ไอ้ตอนมีเพื่อน ไม่เคยเห็นหัวพ่อแม่”
วัยรุ่นไปพลาดท่าเสียทีอะไรมา แทนที่จะได้การปลอบประโลม ก็มักจะได้คำพูดซ้ำเติมมาแทน
เหตุใดพ่อแม่จึงทำอย่างนั้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขารักลูกอย่างสุดหัวใจ
นั่นก็เพราะ พ่อแม่ไม่สามารถปรับใจได้ทัน ซึ่งก็เพราะพ่อแม่ไม่เคยตระเตรียมหัวใจตัวเอง ตั้งแต่ลูกยังไม่เข้าวัยรุ่น
พ่อแม่ไม่เคยคิดว่าจะมีวันอย่างนี้ พ่อแม่เข้าใจว่าลูกที่ฉันรู้จัก ต้องเป็นอย่างที่เห็นไปจนวันตาย
วันหนึ่งมาเจอของจริงว่าลูก “เปลี่ยนไป” จึงทำใจไม่ได้เลย
หมอหยิบเรื่องนี้มาเขียน เพราะไม่อยากให้พ่อแม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกอย่างสุดกำลัง ต้องมาเป็นทุกข์อย่างสาหัส เมื่อลูกของท่านเข้าวัยรุ่น
สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้มาก คือ สามีภรรยาต้องรักษาระดับความสัมพันธ์ ให้อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีเยี่ยม อยู่เสมอๆ
พวกท่านต้องมีสติ อย่าปล่อยให้ความเหินห่างทางกาย ทำให้เกิดความห่างเหินทางอารมณ์ จนยากจะต่อติด
สามีภรรยาที่รักกัน สนิทกันเหมือนเพื่อนสนิท เอื้ออาทรกันเหมือนพี่เหมือนน้อง จะปรับตัวปรับใจได้อย่างไม่ยากจนเกินไป เมื่อลูกๆ ของท่านเข้าสู่วัยรุ่น
เพราะวันที่ลูกเข้าวัยรุ่น และพร้อมจะออกห่างจากครอบครัว ท่านจะยังมีคู่ชีวิตที่คอยเกื้อหนุนทางใจให้กับท่าน
เมื่อถึงวันนั้น จะไม่มีใครในครอบครัวต้องลำบากใจ จนถึงกับทนไม่ได้สักคนเดียว
มาช่วยกันป้องกัน ก่อนเกิดปัญหานะคะ
และขออย่าลืมว่า ลูกๆ จะอยู่กับพ่อแม่แค่ช่วงเวลาเดียวของชีวิต แต่คู่สมรสของเรา คือ คนที่ควรจะอยู่กับเราไปจนกว่าความตายจะมาพราก
Cr. เพจ Dad Mom and Kids
ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface) คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider) เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider) คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้
Comments
Post a Comment