Skip to main content

What The Dog Saw = เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น




ผู้เขียน  :  Malcolm Gladwell
ผู้แปล  :  พรเลิศ อิฐฐ์
ISBN  :  9786162870149
ปีที่พิมพ์  :  
สำนักพิมพ์  :  We Learn
จำนวนหน้า  :  440 หน้า
ราคา  :  350 บาท 



สรุปเนื้อหาสำคัญ
   หนังสือเล่มนี้จะชี้ให้คุณได้เห็นเรื่องราวที่อาจจะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่หากเรามองด้วยมุมมองที่ต่างกัน เราก็จะได้เห็นเรื่องราวดีๆที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวอันแสนจะธรรมดานั้น

บทแนะนำ
บทที่ ๒ ปริศนาซอสมะเขือเทศ แม้ว่าจะมีการผลิตซอสมะเขือเทศแบบเป็นระบบอุตสาหกรรมมานานแล้ว แต่เคยคิดบางมั้ยว่าทำไมซอสมะเขือเทศจึงได้มีแค่แบบเดียว ไม่เห็นจะมีรสชาติหลายแบบให้เลือกเลย 

บทที่ ๓ เจ๊งไม่เป็นท่า เคยคิดมั้ยว่าอยากจะลงทุนที่มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว เราจะสามารถสร้างกำไรมหาศาลจากการลงทุนที่ขาดทุนถึง ๙๙ ครั้ง จาก ๑๐๐ ครั้ง โดยการได้กำไรเพียง ๑ ครั้งจะสามารถสร้างกำไรได้มากกว่า ๙๙ ครั้งที่ขาดทุนไปได้ รวมถึงสร้างกำไรอย่างมหาศาลด้วย

บทที่ ๗ ความลับที่ใครๆก็รู้ บอกเล่าถึงความอันตรายของการที่มีข้อมูลมากเกินไป ในกรณีศึกษาเกี่ยวกับความอือฉาวระดับโลกของบริษัทเอรอน


บทที่ ๙ ภาพถ่ายเจ้าปัญหา ภาพถ่ายเอกซเรย์มะเร็งเต้านม ภาพถ่ายทางอากาศ การตีความจากภาพถ่าย มีความแม่นยำ และสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญได้อย่างแม่นยำจริงๆหรือ


บทที่ ๑๖ อ่านใจคนอันตราย การหาตัวคนร้ายนั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยการใช้หลักการวิเคราะห์คนร้ายจริงหรือ หรือเป็นแค่การใช้ไสยศาสตร์ หรือแค่การใช้การคาดเดาแบบสุ่มกันแน่


บทที่ ๑๗ ความเชื่อผิดๆในเรื่องเกี่ยวกับคนเก่ง เราประเมินคุณค่าของคนเก่งมากเกินไปหรือไม่ จริงหรือที่องค์กรที่มีคนเก่งๆรวมตัวอยู่เป็นจำนวนมาก จะเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากตามไปด้วย


สรุปว่าเป็นหนังสือที่อ่านเพื่อท้าทายความคิดของตัวเอง ว่าสิ่งที่ถูกฝังหัวเรามาว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่น่าเชื่อถึอ แท้จริงแล้วอาจจะไม่ได้เป็นแบบที่เราคิดเสมอไป แต่ผมก็ยังคิดว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นหนังสือที่อ่านง่ายสักเท่าไร แต่ถ้าได้อ่านแล้วก็จะรู้สึกสนุกที่จะได้ท้าทายความคิด กับสิ่งอื่นๆที่เราได้เห็นอยู่ทุกวัน เป็นหนังสือที่น่าอ่านเล่มหนึ่งล่ะครับ



Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma