Skip to main content

Eat That Frog! = กินกบตัวนั้นซะ!

ผู้เขียน  :  Brian Tracy 
ผู้แปล  :  พรเลิศ อิฐฐ์
ISBN  :  978-616-287-010-1
ปีที่พิมพ์  :  2007
สำนักพิมพ์  :  We Learn.
จำนวนหน้า  :  157 หน้า
ราคา  :  150 บาท 



สรุปเนื้อหาสำคัญ


   หนังสือเล่มนี้ ถือว่าเป็นสุดยอดของหนังสือที่เกี่ยวกับการพัฒนาตัวเอง และการจัดการงาน (get thing done) เล่มหนึ่งเลยที่เดียว โดยการนำเสนอก็ทำออกมาได้น่าอ่าน ไม่หนักและไม่เบาจนเกินไป

   ในหนังสือจะนำเสนอวีธีการจัดการงานต่างๆให้อยู่หมัดผ่านวิธีการต่างๆ 21 อย่าง โดยเริ่มตั้งแต่การจัดโต๊ะ การให้ความสำคัญกับงานที่สำคัญ ไปจนถึงการสร้างสำนึกแห่งความเร่งรีบ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

   จงกินกบตัวนั้นซะ ฟังดูแล้วคงรู้สึกแปลกๆ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าไอ้เจ้ากบที่พูดถึงในหนังสือเล่มนี้หมายถึงอะไร อย่างไร

   เจ้ากบที่ว่านี้คือ งานที่จำเป็นจะต้องทำให้แล้วเสร็จ โดยนัยแล้วงานที่ไม่อยากทำ ก็คือเจ้ากบตัวใหญ่ที่น่าเกลียดนั้นเอง โดยกฏในการกินกบนั้นมีอยู่เพียง 2 ข้อง่ายๆเท่านั้น คือ

1.ถ้ามีกบให้เลือกกินมากกว่า 1 ตัว จงเลือกกินกบตัวที่น่าเกลียดที่สุดก่อนเสมอ (งานที่ไม่อยากทำที่สุด หรืองานที่ยากที่สุดนั้นเอง)

2. เมือถึงเวลาที่จะกินกบ ให้รีบลงมือกินทันที่เลย อย่ามั่วแต่เสียเวลาที่จะมานั้งทำใจมองเจ้ากบอ้วนๆนั้นอยู่เลย

   ในหนังสือมีวิธีการต่างๆมากมาย แต่จะขอยกมาให้อ่านเป็นตัวอย่างเพื่อเป็นไอเดียนะครับ

การจัดโต๊ะ หรือขั้นตอนการเตรียมตัว  (1)
   สิ่งสำคัญที่สุดของขั้นตอนนี้ก็คือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน โดยถ้าจะให้ดีจงเขียนลงกระดาษให้ชัดเจนซะ

   หลักสำคัญในการตั้งเป้าหมาย
1. เป้าหมายจะต้องตั้งให้ชัดเจนที่สุด 
2. หลังจากกำหนดเป้าหมายได้อย่างชัดเจนแล้ว จงจดมันลงกระดาษโดยให้ลงรายละเอียดให้ได้มากที่สุด
3. ต้องกำหนดเส้นตายให้กับเป้าหมายอยู่เสมอ โดยอาจจะมีหลายขั้นตอนได้
4. จะต้องระบุสิ่งที่จะต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ชัดเจน
5. ต้องแยกงานที่จะต้องทำก่อน และหลังตามลำดับความสำคัญ (priority)
6. สำคัญที่สุดคือ "จงลงมือทำ ทันที"
7. จงยึดกับแผนที่วางไว้อย่างไม่ลดละ จงอย่าหยุดทำตามแผนแม้แต่วันเดียว

ใช้กฏ 80 / 20 เสมอ (3)
   จงเลือกทำแต่งานที่มีความสำคัญ เพราะเวลาเป็นสิ่งที่มีจำกัด ดังนั้นมันจึงสำคัญมากที่เราจะต้องจดจ่อกับงานที่มีความสำคัญเป็น 20% ของยอดพีระมิดเท่านั้น

เทคนิค ABCDE (6)
   เทคนิค ABCDE ก็คือเทคนิคในการจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะต้องทำ โดย A คืองานที่มีความสำคัญเป็นที่สุด และงาน E คืองานที่ห้ามทำเลย หรือคืองานที่จะต้องโดนทิ้งไปนั้นเอง

สร้างสำนึกแห่งความเร่งด่วน (20)
   เป็นการสร้างความกดดันให้กับตัวเอง โดยเราจะต้องกระตุ้นตัวเองอยู่เสมอๆ ให้รู้สีกว่าจะต้องรีบทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปให้ได้โดยเร็ว อย่างที่ได้บอกไปแล้วในกฎการกินกบว่า "อย่ามั่วเสียเวลานั้งมองกบ จงลงมือกินกบตัวนั้นให้เร็วที่สุด"

   สรุปว่าเป็นหนังสือที่ "ต้องอ่าน" เลยครับ หนังสือทำออกมาให้อ่านได้ง่ายๆ แต่มีมุมให้ไปคิด ให้ไปปรับใช้อยู่เยอะมากครับ รับรองว่าไม่ผิดหวังเลยครับกับหนังสือเล่มนี้

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma