Skip to main content

การเรียนการสอนในหลักสูตรวอลดอร์ฟ

   สำหรับการเรียนการสอนในหลักสูตรวอลดอร์ฟ ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ เด็กเหล่านั้นจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แบบใด สิ่งที่สอนเพื่อให้เด็กสามารถที่จะมีความพร้อมในการใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ปลุกศักยภาพซึ่งแฝงอยู่ในตัวของเด็กออกมา

   หลักสูตรวอลดอร์ฟจะเน้นที่ตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะมีความสามารถในการซึบซับโลก หรือสภาพแวดล้อมได้ผ่านทางประสาทสัมผัส และเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างออกมา โดยสิ่งต่างๆเหล่านั้นจะถูกดูดซับเข้าไปในร่างกายและจิตใจของเด็ก และสามารถที่จะส่งผลกระทบได้ตลอดชีวิต

   เนื่องจากชีวิตในช่วงปฐมวัย เด็กจะยังอยู่ในโลกแห่งความพิศวง และการเลียนแบบสิ่งต่างๆที่เห็นผู้อื่นกระทำ ดังนั้นการศึกษาในหลักสูตรวอลดอร์ฟจึงเป็นโลกของความกลมกลืน ความงดงามและความอบอุ่น สภาพแวดล้อมในการเล่นที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ เปิดโอกาสให้เด็กได้เลียนแบบอย่างมีความหมายและ เล่นอย่างสร้างสรรค์ นั้นคือผู้สอนที่อยู่เบื้องหน้าเด็ก ที่ร้องเพลง และเล่นกับเด็กจะต้องมีการทำตัวให้เหมาะสม และทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อเด็ก

   หลักการสำคัญของหลักสูตรวอลดอร์ฟ การจัดสภาพแวดล้อมให้อบอุ่น ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะสามารถดึงศักยภาพของเด็กออกมาได้มากที่สุด และตัวเด็กเองก็จะมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆเหล่านั้นด้วยความตั้งใจ และสนุกสนาน โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1.) กิจกรรมที่แสดงออกอย่างคึกคัก เช่น การทำอาหาร การทำงานศิลปะปั่น การเล่นตุ๊กตา การเล่นแต่งตัว(เสมือนเป็นตัวละคร) สร้างบ้าน สำรวจป่า ฯลฯ

2.) กิจกรรมอันสงบเยือกเย็น เช่น การฟังนิทาน การดูละครหุ่น การทำงานศิลปะวาดระบายสี ฯลฯ

   สำหรับการศึกษาหลักสูตรวอลดอร์ฟนั้น จะไม่เน้นด้านวิชาการในระดับปฐมวัย แต่จะเน้นด้านประสบการณ์เข้าใจตนเองและธรรมชาติ ด้านภาษาและความอุดมของวัฒนธรรม โดยประสบการณ์ที่มอบให้กับเด็กในวัยนี้ จะปูพี้นฐานสำหรับการคิดอย่างสร้างสรรค์เปี่ยมไปด้วยฐาณทัศน์ในภายหลัง กล่าวคือ เป็นการวางรากฐานอัแข็งแกร่งสำหรับการเจริญงอกงามทางสติ ปัญญาต่อไปในอนาคต

ที่มา ค้นหาอนุบาลในดวงใจ

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma