Skip to main content

การเรียนการสอนตามแนวคิด เรกจิโอ เอมีเลีย

   ชื่อเรกจิโอ เอมีเลียนั้นเป็นชื่อเมืองเล็กๆทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ซึ่งกลุ่มแม่บ้านได้มีการรวมตัวกันเป็นอาสาสมัคร เพื่อสร้างโรงเรียนเพื่อเด็กๆ เนื่องจากในสมัยนั้นเป็นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกสิ่งทุกอย่างขาดแคลน โดยมี ลอริส มาลากุซซี่ (Loris Malaguzzi) เป็นแกนนำในการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวคิด เรกจิโอ เอมีเลีย โดยการเรียนการสอนตามแนวคิด เรกจิโอ เอมีเลีย นั้นมีหลักคิดคือ

 1.) วิธีการมองเด็ก (The Image of the Child) คือ เด็กจะมีความาสามารถในการเรียนรู้มาตั้งแต่กำเนิด โดยจะเจริญเติมโตขึ้นตามวัย และเด็กจะเต็มไปด้วยพลังและความปรารถนาที่จะเติบโตงอกงาม ความอยากรู้อยากเห็น ความอยากมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น

2.) โรงเรียนเป็นแหล่งบูรณาการที่หลากหลายเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยโรงเรียนต้องทำหน้าที่ในการจัดจังหวะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ แต่จะต้องพร้อมที่จะยืดหยุ่นได้โดยขึ้นอยู่กับความพร้อมของตัวเด็กเอง

3.) ครูและเด็กจะเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยจะเน้นที่การเรียนรู้ ไม่ใช่การสอน เพราะเป้าหมายอยู่ที่การที่เด็กจะได้รับการเรียนรู้ ค้นพบด้วยตนเอง ดังนั้นหน้าที่ของครูจึงไม่ใช่การสอนโดยตรง แต่เป็นการจัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยจะเน้นเป็นหน้าที่ประสานงาน ส่งเสริม ให้ข้อเสนอแนะ และช่วยเหลือในกรณีที่เด็กไม่สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้

   กล่าวโดยสรุป หลักการเรียนการสอนตามแนวคิด เรกจิโอ เอมีเลีย คือการจัดให้เด็กมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเรียนรู้ โดยมีมุมกิจกรรมที่จะให้เด็กได้ลงมือทำจริง เป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยใช้ทุกประสาทสัมผัส และมีครูผู้ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิดแต่ไม่รบกวนเด็ก โดยครูจะต้องทำหน้าที่ในการจดบันทึกการเรียนรู้ และความสนใจของเด็ก นอกจากนี้ยังเน้นให้เด็กกับครูมีการทำกิจกรรมเป็นโครงการ โดยครูจะทำหน้าที่วางกรอบ เพือให้เด็กได้มีการวางแผนและทำงานร่วมกัน โดยโครงการนั้นจะมีอายุตามความสนใจของเด็ก ไม่จำกัดด้วยเวลา คือโครงการจะเสร็จสมบูรณ์เมือเด็กได้เรียนรู้และหมดความสนใจในโครงการนั้นแล้ว

ที่มา คันหาอนุบาลในดวงใจ

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก...

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3...

แผนภาพวาดให้เป็น เก่งนำเสนอ

ผู้เขียน  :  Yamda Masao แปลโดย ประวัติ เพียรเจริญ ISBN  :  978-974-443-460-9 ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2012 จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. จำนวนหน้า  :  272 หน้า ราคา  :  220 บาท สรุปเนื้อหาสำคัญ    หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นหนังสือที่สอนวิธีการวาดภาพ แต่เป็นหนังสือที่สอนให้ใช้รูปภาพ (หมายถึง แผนภูมิ, กราฟ และตารางต่างๆ) เพื่อใช้ในการนำเสนอสิ่งต่างๆ ความคิดเห็น ข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้คนอ่านสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะความคิดของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน การนำเสนอความคิดด้วยภาพจึงมีความสำคัญมาก  "ความคิดถึงแม้จะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ก็ไร้ประโยชน์"    โดยมีการแยกสัดส่วนของเนื้อหาได้ดี มีการสรุปเป็นหัวข้อๆ ให้เข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ  สารที่ต้องการสื่อออกไป เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดออกไปให้ชัดเจน และเรียยเรียงอย่างมีระบบ รูปแบบ หรือกรอบความคิดที่จะใช้สำหรับสื่อสาร "สาร" ออกไป เช่นเป็นตารางข้อมูล เ...