Skip to main content

หลักสูตรไฮสโคป (High/Scope)

   หลักสูตรไฮสโคป (High/Scope) เป็นหลักสูตรที่ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นจาก ดร.เดวิด ไวคาร์ต (Dr.David Weikart) ประธานมูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮสโคป โดยมีพื้นฐานมาจากการศึกษาเปรียบเทียบเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.) กลุ่มเด็กที่ได้รับการสอนจากครูโดยตรง (Direct Instruction)
2.) กลุ่มเด็กที่ได้รับการสอนแบบเนิร์สเซอรี่ดั่งเดิม (Traditional Nursery)
3.) กลุ่มเด็กที่ได้รับการสอนแบบหลักสูตรไฮสโคป (High/Scope)

   โดยการวิจัยจะติดตามกลุ่มเด็กเหล่านั้นจนถึงอายุ 29 ปี พบว่ากลุ่มเด็กที่ได้รับการสอนหลักสูตรไฮสโคป (High/Scope) เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาพฤติกรรมทางสังคม และอารมณ์น้อยกว่าอีก 2 กลุ่มตัวอย่าง จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่า การสอนแบบหลักสูตรไฮสโคป (High/Scope) จะเพิ่มพูนความสำเร็จทางการศึกษา และผลผลิตตลอดชีวิตได้

   หลักการสำคัญของการศึกษาแบบหลักสูตรไฮสโคป (High/Scope) คือ การเน้นความสำคัญของการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน โดยเป้าหมายอยู่ที่การที่เด็กๆได้เรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น โดยเด็กๆจะมีโอกาสในการวางแผนแต่ล่ะวันว่าจะแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างไร โดยครูจะใช้การสอนแบบกลุ่มย่อยและการยิงคำถามต่างๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้น

   ในแต่ละวันเด็กจะมีโอกาสได้ทำกิจกรรมทั้งแบบกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ และรายบุคคล โดยใน 1 คาบเด็กจะได้เรียนรู้ทั้งวิธีการวางแผน การลงมือปฎิบัติ และ สรุปผลทบทวน เพื่อให้เด็กได้คิดริเริ่มอย่างอิสระ แต่ในขณะเดียวกัน เด็กก็จะได้รับการปลูกฝังการทำงานอย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนไปด้วย เนื่องจากเด็กสามารถที่จะเลือกทำกิจกรรมที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้อย่างหลากหลายได้ เด็กก็จะเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง

   การประเมินพัฒนาการของเด็ก จะใช้การสังเกตพฤติกรรมเด็กเป็นรายบุคคล และสรุปเป็นบันทึกประจำวัน ทั้งนี้ผู้ปกครองมีบทบาทที่สำคัญมากในการศึกษาแนวนี้ เพราะต้องปฎิบัติต่อลูกของตนให้เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ร่วมทั้งต้องมีการให้เกียรติซึ่งกันและกันด้วย

ที่มา อนุบาลในดวงใจ

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma