Skip to main content

Posts

Showing posts from January, 2014

การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ตอนที่๑

การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ตอนที่๑ "การบริหารเวลา คือ การบริหารชีวิต"    ชีวิตการทำงานในปัจจุบันมีคนเป็นจำนวนมากที่รู้สีกว่าตนเองทำงานหนักมาก แต่ผลงานที่ออกมากลับมีเพียงน้อยนิด เราทำงานกันหนักมากจนไม่มีแม้แต่เวลาที่จะคิดทบทวนว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้นได้สร้างคุณค่า ทั้งกับองค์กร และตนเองหรือไม่    ดังนั้นการบริหารเวลาจึงมีความจำเป็น แต่ก็อีกเช่นกันพวกเราส่วนมากมักจะคิดว่า การบริหารเวลาเป็นเรื่องง่ายๆที่สามารถใช้สันชาตญาณในการจัดการได้ ซึ่งโดยมากแล้วมักจะนำปัญหามาให้เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างสำหรับคนที่มีปัญหาทำงานหนักทั้งวันแต่ไม่สามารถทำอะไรให้สำเร็จได้เลย ตอนเช้า      มีเพื่อนร่วมงานมาคุยปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ซึ่งบางครั้งไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับงานที่เราทำ แต่ก็ยังนั้งฟังด้วยความเกรงใจ เสร็จแล้วก็มาเช็คอีเมล์ต่างๆทั้งที่เกี่ยวกับงาน และไม่เกี่ยวกับงาน โดยยังไม่ได้ลงมือทำงานอะไรเลย     ตอนบ่าย      ตามด้วยการประชุมต่างๆที่ต้องเข้าร่วมประชุม ทั้งที่มีความจำเป็น และไม่มีความจำเป็น สุดท้ายกว่าจะได้เริ่...

การเรียนการสอนตามแนวคิด เรกจิโอ เอมีเลีย

   ชื่อเรกจิโอ เอมีเลียนั้นเป็นชื่อเมืองเล็กๆทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ซึ่งกลุ่มแม่บ้านได้มีการรวมตัวกันเป็นอาสาสมัคร เพื่อสร้างโรงเรียนเพื่อเด็กๆ เนื่องจากในสมัยนั้นเป็นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกสิ่งทุกอย่างขาดแคลน โดยมี ลอริส มาลากุซซี่ (Loris Malaguzzi) เป็นแกนนำในการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวคิด เรกจิโอ เอมีเลีย โดยการเรียนการสอนตามแนวคิด เรกจิโอ เอมีเลีย นั้นมีหลักคิดคือ  1.) วิธีการมองเด็ก (The Image of the Child) คือ เด็กจะมีความาสามารถในการเรียนรู้มาตั้งแต่กำเนิด โดยจะเจริญเติมโตขึ้นตามวัย และเด็กจะเต็มไปด้วยพลังและความปรารถนาที่จะเติบโตงอกงาม ความอยากรู้อยากเห็น ความอยากมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น 2.) โรงเรียนเป็นแหล่งบูรณาการที่หลากหลายเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยโรงเรียนต้องทำหน้าที่ในการจัดจังหวะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ แต่จะต้องพร้อมที่จะยืดหยุ่นได้โดยขึ้นอยู่กับความพร้อมของตัวเด็กเอง 3.) ครูและเด็กจะเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยจะเน้นที่การเรียนรู้ ไม่ใช่การสอน เพราะเป้าหมายอยู่ที่การที่เด็กจะได้รับการเรียนรู้ ค้นพบด้วยตนเอง ดังนั้นหน...

เอารูปถ่ายของฉันคืนมา

   เอาล่ะสิ อยู่ดีๆรูปที่เก็บไว้ในมือถือก็หายไปซะยังงั้นแหละ หายไปแบบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน เพราะพวก app ที่ลงไว้ใน SD card ก็ยังมีอยู่ มีแต่พวกรูป กับวีดีโอนี้แหละที่หายไปหมดเลย   หลายๆคนโดยเฉพาะเพื่อนๆที่ใช้มือถือ android เจ้าตลาดยี่ห้อดังแบบ ซัมซุง (samsung) น่าจะเคยเจอปัญหาแบบเดียวกัน    คนที่ไม่เคยเจอกับตัวคงไม่เข้าใจ ว่ามันทำให้เราเกิดความเศร้าหมองได้มากขนานไหน    ไอ้พวก app ต่างๆไม่ค่อยจะเสียดายหรอกครับ แต่พวกข้อมูลที่สำคัญๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ประเมินค่าไม่ได้ มีค่าทางจิตใจอย่างมหาศาล แบบพวกรูปภาพที่หายไป (เพราะเราย้อนเวลากลับไปถ่ายรูปแบบนั้นอีกไม่ได้แล้ว) รวมทั้งพวกภาพเคลื่อนไหวต่างๆ (VDO) ทำไงกันดี วันนี้ผมจะแชร์วิธีการที่ผมใช้กอบกู้รูปภาพต่างๆเหล่านั้นกลับมาครับ   สาเหตุโดยส่วนใหญ่น่าจะมีอยู่ 3 แบบหลักๆ 1.)  ตัว SD Card มีความเสียหาย หรือเสียนั้นเอง 2.)  โดนไวรัสที่ส่งผลให้เกิดการซ่อนไฟล์มีเดียต่างๆ 3.)  ปัญหาที่เกิดขึ้นจาก Hardware หรือพูดง่ายๆก็คือ ตัวกล้อง หรือมือถือของเรานั้นเอง    โ...

การสอนภาษาธรรมชาติองค์รวม (Whole Language Approach)

   การสอนภาษาธรรมชาติองค์รวม (Whole Language Approach) เป็นนวัตกรรมที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าสู่การส่งเสริมปัญญา อันจะเป็นการสร้างความสามารถและความเฉลียวฉลาด ในการเรียนรู้ภาษา ทั้งในด้านการพูด การเขียน และการอ่าน    ในกระบวนการเรียน การสอนภาษาธรรมชาตินั้น ทั้งผู้เรียนและผู้สอน จะมีความสุขไม่รู้สึกเหนื่อย เบื่อหน่ายหรือรู้สึกว่า การเรียนภาษานั้นยาก เพราะจะเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ซึ่งต่างจากการศึกษาภาษาในอดีตที่เป็นลักษณะ แบ่งแยกการเรียนออกเป็น ฟัง กับ อ่าน (passive) และ พูด กับ เขียน (active) โดยวิธีคิดของการสอนภาษาธรรมชาติองค์รวมเห็นว่า การฝึกทักษะทั้ง 4 ด้านจะต้องทำไปควบคู่กันไม่สามารถแยกออกมาได้   จุดมุ่งเน้นสำหรับ การสอนภาษาธรรมชาติองค์รวม (Whole Language Approach) เพื่อนำไปสู่การสร้างความสามารถเฉลี่ยวฉลาดของเด็ก ก็คือจะต้องมีความเข้าใจพัฒนาการทางภาษาที่มีทักษะทั้ง 4 ด้าน คือการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน โดยจะต้องมีศูนย์กลางอยู่ที่ความคิด เพราะการใช้ภาษาของเด็กในรูปแบบต่างๆ ล้วนแล้วแต่มาจากความคิดทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องม...

การเรียนการสอนในหลักสูตรวอลดอร์ฟ

   สำหรับการเรียนการสอนในหลักสูตรวอลดอร์ฟ ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ เด็กเหล่านั้นจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แบบใด สิ่งที่สอนเพื่อให้เด็กสามารถที่จะมีความพร้อมในการใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ปลุกศักยภาพซึ่งแฝงอยู่ในตัวของเด็กออกมา    หลักสูตรวอลดอร์ฟจะเน้นที่ตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะมีความสามารถในการซึบซับโลก หรือสภาพแวดล้อมได้ผ่านทางประสาทสัมผัส และเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างออกมา โดยสิ่งต่างๆเหล่านั้นจะถูกดูดซับเข้าไปในร่างกายและจิตใจของเด็ก และสามารถที่จะส่งผลกระทบได้ตลอดชีวิต    เนื่องจากชีวิตในช่วงปฐมวัย เด็กจะยังอยู่ในโลกแห่งความพิศวง และการเลียนแบบสิ่งต่างๆที่เห็นผู้อื่นกระทำ ดังนั้นการศึกษาในหลักสูตรวอลดอร์ฟจึงเป็นโลกของความกลมกลืน ความงดงามและความอบอุ่น สภาพแวดล้อมในการเล่นที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ เปิดโอกาสให้เด็กได้เลียนแบบอย่างมีความหมายและ เล่นอย่างสร้างสรรค์ นั้นคือผู้สอนที่อยู่เบื้องหน้าเด็ก ที่ร้องเพลง และเล่นกับเด็กจะต้องมีการทำตัวให้เหมาะสม และทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อเด็ก   ...

หลักสูตรไฮสโคป (High/Scope)

   หลักสูตรไฮสโคป (High/Scope) เป็นหลักสูตรที่ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นจาก ดร.เดวิด ไวคาร์ต (Dr.David Weikart) ประธานมูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮสโคป โดยมีพื้นฐานมาจากการศึกษาเปรียบเทียบเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.) กลุ่มเด็กที่ได้รับการสอนจากครูโดยตรง (Direct Instruction) 2.) กลุ่มเด็กที่ได้รับการสอนแบบเนิร์สเซอรี่ดั่งเดิม (Traditional Nursery) 3.) กลุ่มเด็กที่ได้รับการสอนแบบหลักสูตรไฮสโคป (High/Scope)    โดยการวิจัยจะติดตามกลุ่มเด็กเหล่านั้นจนถึงอายุ 29 ปี พบว่ากลุ่มเด็กที่ได้รับการสอนหลักสูตรไฮสโคป (High/Scope) เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาพฤติกรรมทางสังคม และอารมณ์น้อยกว่าอีก 2 กลุ่มตัวอย่าง จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่า การสอนแบบหลักสูตรไฮสโคป (High/Scope) จะเพิ่มพูนความสำเร็จทางการศึกษา และผลผลิตตลอดชีวิตได้    หลักการสำคัญของการศึกษาแบบหลักสูตรไฮสโคป (High/Scope) คือ การเน้นความสำคัญของการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน โดยเป้าหมายอยู่ที่การที่เด็กๆได้เรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น โดยเด็กๆจะมีโอกาสใน...

การศึกษาแบบ นีโอฮิวแมนนิส หรือ positive perfection

   การศึกษาแบบ นีโอฮิวแมนนิส หรือ positive perfection มีลักษณะเป็น แนวทางเพื่อเอื้อให้เด็กมีความเก่ง ฉลาด แข็งแรง มีน้ำใจโดยใช้วิธีการด้านบวก โดยมีหลักการพื้นฐานคือ 1.) เน้นสร้างบรรยากาศให้คลื่นสมองต่ำ 2.) เน้นสร้างพัฒนาการเซลส์สมองเด็ก 3.) เน้นสร้างภาพด้านบวกให้กับเด็ก 4.) เน้นการสร้างตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก 5.) เน้นการให้ความรักกับเด็ก    คลื่นสมองต่ำคือ สภาวะที่จิตอยู่ในลักษณะผ่อนคลายที่สุด ไร้ความเครียดและกังวล เพราะสภาวะจิดใจเช่นนั้น จะทำให้คนเราเกิดการเรียนรู้ และใช้ศักยภาพของตัวเองได้สูงที่สุด ดังนั้นเราจึงสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อเรามีความสุข ความสบายใจ หรือ สภาวะคลื่นสมองต่ำ    ลักษณะคลื่นสมองแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่ม คือ 1.) คลื่นเบต้า มีความถี่คลื่นสมองอยู่ที่ 13 - 40 รอบต่อวินาที อันเป็นลักษณะของคนที่มีความเครียดอยู่สูง ในสภาวะเช่นนี้คน จะเรียนรู้ได้ช้า และไม่มีความสุข 2.) คลื่นสมองอัลฟา มีความถี่คลื่นสมองอยู่ที่ 8 - 13 รอบต่อวินาที อันเป็นลักษณะคลื่นสมองของคนที่มีความสงบในจิตใจ ในสภาวะเช่นนี้คนจะเรียนรู้ได้เร็ว จดจำได...