Skip to main content

ทำงานกับ(นาย)ญึ่ปุ่นอย่างไรให้ HAPPY = 日本人と一緒に仕事するのはとてもやりやすい。 =



ผู้เขียน  :  วิฑูรย์ เทพประดิษฐ์
ISBN  :  978-616-509-377-4
ปีที่พิมพ์  :  2011
สำนักพิมพ์  :  Happy Book
จำนวนหน้า  :  160 หน้า
ราคา  :  150 บาท 

สรุปเนื้อหาสำคัญ
   มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะปกติสำหรับคนไทย ที่จะทำงานในบริษัทของประเทศญี่ปุ่น และแน่นอนว่าจะต้องทำงานร่วมกับเจ้านายคนญี่ปุ่น ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงการทำงานร่วมกับเจ้านายคนญี่ปุ่นอย่างไรให้มีความสุข (ไม่ใช่แค่จ้องจะเลียนายนะครับ)

   ลักษณะนิสัย(เฉพาะ) ของคนญี่ปุ่น คือ ความมีระเบียบวินัยเป็นอย่างยิ่งยวด ทุกคนรักษาระเบียบวินัยโดยเฉพาะในเรื่องเวลา และมีความซื่อสัตย์สูง ซึ่งเราต้องยอมรับว่าอาจจะไม่ตรงจริตกับคนไทยสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะในเรื่องการทำตามระเบียบ เพราะทำอะไรตามใจคือไทยแท้ ของเรานี้แหละ เช่นในเรื่องเวลาที่คนญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องใหญ่ ต้องไปก่อนเวลาอย่างน้อยสัก 15 นาที ในขณะที่คนไทย การไปสายสัก 5 -10 นาทีถือว่าอยู่ในเกณฑ์รับได้ (และโดยมากเราจะไม่ค่อยแจ้งคู่นัดหมายด้วย หากไปสายสัก 5 นาที) 

   การสอนงานในระบบของคนญี่ปุนมักจะเป็นแบบ "สอนหน้างาน" on the job training คือการสอนงานจริง โดยหัวหน้างาน โดยอาจจะมีข้อเสียคือ บางครั้งตัวหัวหน้างานเองก็ยังมีความรู้ไม่เพียงพอ และอาจจะมีการสอนงานที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก 
   แต่โดยหลักการแล้วการแล้ว การสอนหน้างานคือ 
๑ อธิบายถึงสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน
๒ ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
๓ ให้ผู้ถูกฝึกลองลงมือทำ
๔ ตรวจสอบความถูกต้อง โดยหัวหน้างาน และแก้ไขให้ถูกต้อง
๕ เน้นให้ผู้ถูกฝึกสอนถามในสิ่งที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ

   ไคเซ็น (KAIZEN) คือการพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด กล่าวง่ายๆคือ ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน นี้คือหัวใจของทางประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจจะไม่ค่อยตรงกับจริตคนไทยอีกแล้ว เพราะเราเน้นยึดเป้าหมาย ยึดรูปแบบเป็นหลัก แต่หลักไคเซ็นคือ การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ท้าทายเป้าหมายเดิมอยู่ตลอด เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเรื่อยๆ 

"เพิ่มการผลิตอีก 10% ลดของเสีย 5% ต่อปี"

หลักในการปรับปรุงงาน
๑ เลือกหัวข้องานที่เราจะทำการปรับปรุงก่อน (ทำให้ง่ายขึ้น, ทำแล้วปลอดภัยขึ้น เป็นต้น)
๒ เข้าไปเก็บข้อมูลจากสถานที่จริง (สำคัญมากสำหรับคนญี่ปุ่นที่จะต้องไปเห็นสถานที่จริง กับตาของตัวเอง)
๓ ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เราเห็นในแต่ล่ะขั้นตอน (ทำไมต้องทำแบบนี้, ทำไมต้องทำที่นี้, ทำไมต้องเป็นคนนี้ที่ทำ, มีวิธีอื่นอีกหรือไม่ เป็นต้น)
๔ วางแผน และลงมือปรับปรุง (ใช้หลักการตัดลดทอน, การควบรวม, การจัดใหม่ และการทำให้ง่ายขึ้น)
๕ นำเสนอวิธีการใหม่ไปปรับปรุง (หมายถึงการขออนุมัติ และแจ้งผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบ)
๖ รักษาแนวทาง หรือวิธีการใหม่นี้ไว้ (ตรวจสอบวิธีใหม่ว่ายังมีปัญหาอะไรหรือไม่ และขยายผล)

MDWSTOP การสูญเสีย 7 ประการ ที่เราต้องหาวิธีการลด
M  :  Motion การเคลื่อนไหวร่างการที่สูญเปล่า
D  :  Defect  การสูญเสียที่เกิดจากของเสีย ในกระบวนการผลิต
W  :  Waiting การสูญเสียที่เกิดจากการรอการผลิต (คอขวด)
S  :  Stock การมีสต๊อกสินค้า และวัตถุดิบมากเกินไป
T  :  Transportation การสูญเสียที่เกิดจากการขนส่งที่ไม่จำเป็น
O  :  Over Production การผลิตที่มากเกินกว่าความต้องการของลูกค้า ถือเป็นการสูญเสีย
P  :  Process  การสูญเสียอันเกิดมาจากการออกแบบกระบวนการผลิตที่ไม่ดี



   ในหนังสือจะเน้นเกี่ยวกับการจัดการความแตกต่าง ระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นเป็นหลัก เช่นทัษณะคติในการทำงาน การดื่มหลังเลิกงาน ซึ่งทางคนญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องสำคัญ (อันนี้คนไทยน่าจะมไม่มีปัญหา)

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก...

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3...

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่น...