Skip to main content

คิดแบบ ลี กวน ยู



ผู้เขียน  :  วริศรา ภานุวัฒน์
ISBN  :  978-616-508-963-0
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2015
จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ แสงดาว
จำนวนหน้า  :  208 หน้า

ราคา  :  140 บาท

สรุปเนื้อหาสำคัญ

   ต้องบอกตามตรงว่าค่อยข้างจะผิดหวังกับหนังสือเล่มนี้พอสมควร เนื่องจากผมมีความคาดหวังว่าจะได้อ่านหนังสือที่เจาะเข้าไปในวิธีคิด รวมถึงน่าจะมีการยกตัวอย่างการตัดสินใจ รวมถึงอธิบายถึงเหตุ และผลที่ตัดสินใจดังว่า โดยทั้งหมดที่ผมคาดหวังไว้ ไม่มีในหนังสือเล่มนี้ (ผมคิดว่าชือหนังสือตั้งความคาดหวังให้ผมมากเกินไป)

   แต่ไม่เป็นไร เพราะอย่างไรก็ตามในหนังสือก็ได้บอกเล่าชีวะประวัติแบบย่อๆ ของคุณ ลี กวน ยู พ่อผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์ ให้ได้รส ได้ชาต พอสมควร

   ในหนังสือได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติของคุณ ลี กวน ยู ตั้งแต่ยังเด็ก จนถึงในช่วงเรียน มาจนถึงการทำงานการเมืองในที่สุด โดยเราสามารถที่จะเห็นได้ว่าคุณ ลี กวน ยู เป็นคนที่หัวดี เพราะสามารถที่จะเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าของโลก อย่าง ลอนดอนสคูล ออฟอีโคโนมิกส์ และ วิทยาลัยฟิทซ์วิลเลียม เคมบริดจ์ โดยจบมาพร้อมกับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วย

   ความฉลาดแรกของสิงคโปร์ที่ผมรู้สึกได้คือ การรู้จัดตัวเองอย่างถ่องแท้ รู้ว่าตัวเองไม่มีทรัพยากรอะไรเลย จำเป็นที่จะต้องมีคนให้ความช่วยเหลือ โดยในยุค 1960 สิงคโปร์เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย แต่ความหวังของคุณ ลี กวน ยู ที่จะเป็นส่วนหนึ่่งของมาเลเซียก็หมดไปอย่างรวดเร็ว เพราะมีการประท้วงเรื่องความเท่าเทียมระหว่างคนเชื้อสายจีน กับคนเชื้อสายมาเลเซีย ประทุขึ้น นั้นทำให้ในที่สุด ในวันที่ 9 สิงหาคม 1965 สิงคโปร์ก็เป็นประเทศเอกราช ที่ต้องดูแลตัวเอง

   ผมชอบวิสัยทัศน์ของคุณ ลี กวน ยู ที่ไม่ยอมแพ้ หลังจากแผนที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียล้มเหลวไป สิงโปร์โดยคุณ ลี กวน ยู กลับมามองว่า สิงคโปร์มีอะไรที่เป็นทรัพยากรที่น่าจะพาให้ประเทศเล็กๆ เกิดใหม่ และไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรที่สำคัญเลย ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจว่า ทรัพยากรมนุษย์นี้แหละคือคำตอบ คุณ ลี กวน ยู ให้ความสำคัญกับเรื่องการศีกษาเป็นอย่างมาก รวมถึงการควบคุมเรื่องระเบียบวินัยเป็นอย่างมาก ทั้งหมดเพื่อให้สิงคโปร์สามารถที่จะสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงได้ (แน่นอนเรื่องยาเสพติดต่างๆ ก็ถูกควบคุม และมีบทลงโทษที่รุนแรงก็เพื่อรักษาระดับ คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์นั้นเอง)

   ความโชคดีของสิงคโปร์อาจจะมีอยู่อีกอย่างคือ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศที่เหมาะกับเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า และการค้าขาย (แน่นอนว่าหากขาดทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพแล้ว ก็คงยากที่จะตั้งตัวเองเป็นศูนย์กลางการค้าได้)

   แนวทางการบริหารประเทศของคุณ ลี กวน ยู มีความาเชื่อว่าต้องมีความโปร่งใส และชอบที่จะใช้มืออาชีพมาบริหารงาน โดยมีการวางมาตราการป้องกันเรื่องทุจริตอย่างรุนแรง เพื่อไม่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น (อันนี้แหละมั้งครับ ที่ทำให้ประเทศเล็กๆอย่างสิงคโปร ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศอีกกว่าค่อนโลกยังพัฒนาไปไม่ได้ถึงไหน)


   การพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึงที่เป็นความคิดที่ล้ำสมัยมากในขณะนั้น คือ การเปิดเสรีทางด้านการเงิน การธนาคาร โดยนอกจากจะอนุญาติให้ธนาคารจากต่างประเทศมาเปิดได้อย่างเสรีแล้ว ยังอนุญาติให้สามารถรับฝากเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้อีกด้วย 

   การส่งทอดอำนาจของคุณ ลี กวน ยู ก็เป็นอีกหัวข้อที่น่าสนใจ เพราะถึงว่่าเป็นการส่งต่ออำนาจที่ถือได้ว่า ไร้รอยสะดุด และค่อนข้างจะทำให้ดูเหมือนว่าเขาเลือกผู้นำโดยดูจากความสามารถ ไม่ใช่เลือกจากเครือญาติ (ถึงแม้ผมจะคิดว่าเป็นแผนที่วางไว้ก่อนแล้วก็ตาม) โดยคุณ ลี กวน ยู ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี และส่งไม้ต่อให้กับคุณ โก๊ะ จ๊ก ตง จากนั้นตำแหน่งก็ตกมาเป็นของคุณ ลี เซียน ลุง (บุตรชายของคุณ ลี กวน ยู)

   แม้จะมีคำชื่นชมคุณ ลี กวน ยู อย่างมากมายก็ตาม แต่ก็เป็นความจริงอย่างหนึ่งว่าในเรื่องการปกครองประเทศของคุณ ลี กวน ยู นั้นดูเหมือนเป็นการผูกขาด เนื่องจากตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมาพรรคกิจประชาชนของคุณ ลี กวน ยู ไม่เคยแพ้การเลือกตั้งเลย ยิ่งกว่านั้นทุกครั้งที่เลือกตั้ง แทบจะไม่มีพรรคการเมืองอื่นหลุดเข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายค้านเลย (นั้นทำให้นโยบายต่างๆออกมาได้อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง แต่ก็ทำให้เกิดการผูกขาดเกิดขึ้น)

   สุดท้ายผมชอบคำพูดของคุณ ลี กวน ยู ที่พูดเกี่ยวกับอนาคตของประเทศสิงคโปร์ว่า

"ไม่ว่าคนรุ่นใหม่ของสิงคโปร์ จะเลือกเส้นทางข้างหน้าอย่างไร ผมก็มั่นใจเหลือเกินว่า ถ้าสิงคโปร์ได้รัฐบาลที่งี่เง่า เราก็เจ๊ง และประเทศนี้ก็จะจมลงสู่ความว่างเปล่า อย่างแน่นอน"

   หวังใจไว้ว่าเราก็ควรนำคำพูดนี้ไปคิดอย่างลึกซึ่งนะครับ

สรุป นี้เป็นหนังสือที่อ่านง่ายๆ เหมาะที่จะอ่านเพื่อได้รู้จักกับหนึ่งในสุดยอดผู้นำประเทศ ที่ชือ ลี กวน ยู



Credit ภาพจาก : Oknation, Posttoday

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก...

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3...

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่น...