Skip to main content

เรียนรู้ตำรา และทักษะมากมาย ทำไม ทำกำไรไม่ได้สักที?



ผู้เขียน  :  Ryosuke Yoshii  แปลโดย สุภารัตน์ ศิริรัตนพันธ
ISBN  :  978-974-443-393-0
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2007
จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
จำนวนหน้า  :  160 หน้า
ราคา  :  180 บาท

สรุปเนื้อหาสำคัญ

   เป็นหนังสือแนว know how ที่เวลาอ่านแล้ว รู้สึกเหมือนกับกำลังนั้งฟังงานสัมนาอยู่อย่างไงอย่างนั้นเลย ผู้เขียนเขียนได้เหมือนกำลังเล่าเรื่องราวสนุกๆอะไรสักอย่างอยู่ ทำให้เวลาเราอ่านก็รู้สึกสนุกไปด้วย

   เทคนิคในการเขียนเพื่อที่จะให้เพิ่มยอดขายได้ หลักการเขียนตามตำรานั้นกำหนดให้ต้องมี คำกล่าวแนะนำ, มีรูปของสินค้า, มีสเปกของสินค้า และมีราคา แต่ผู้เขียนแนะนำว่า แค่นี้มันยังไม่พอ เพราะแท้ที่จริงแล้วคนเราซื้อของเพราะความรู้สึกว่าอยากได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญในการเขียนคำโฆษณามีเพียง 2 ข้อ คือ

1.) ลำดับของเรื่องราวในการแนะนำสินค้า คือ ต้องเริ่มจากการกล่าวถึงปัญหาที่เราคาดว่าลูกค้าเป้าหมายของเราต้องเผชิญอยู่ ยิ่งเราบอกปัญหาได้ตรงเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้ของที่เรานำเสนอมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

2.) แล้วจึงค่อยตามด้วยการอธิบายถึงคุณสมบัติของสินค้าของเรา ที่จะช่วยแก้ปัญหานั้นๆ ได้ พร้อมทั้งให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์สิ่งที่เราบอกไป  

เคล็ดลับในสร้างการขายที่ดี 2 ข้อ
1.)  การจะขายให้ได้ดีนั้น ต้องตั้งคำถาม กล่าวง่ายๆคือ ต้องรู้ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า โดยเราจะรู้ความต้องการดังกล่าวได้นั้นก็ต้องมาจากคำถาม
2.) การจะสามารถได้รับคำตอบจากคำถามที่ดีได้นั้น ก็จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเสียก่อน ต้องทำให้ลูกค้ามีความไว้วางใจในต้วเราให้ได้

   คำแนะนำในการนำความรู้ไปใช้จริง คือ ในจดจำเป็นเช็ต คือจำทฤษฏี และตัวอย่างควบคู่กันไป (ความจริงแล้วนี้ก็เป็นทฤษฏีหนึ่ง เรียกว่า กฏการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ซึ่งเน้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้จริงได้


   ความลับของ Business Model ที่สร้างกำไร คือการกำหนดบริการไม่ให้เท่าเทียมกันทุกคน กล่าวคือเราต้องจำกัดบริการกับลูกค้าที่ไม่จ่ายเงิน แต่ต้องบริการอย่างดีเลิศให้กับลูกค้าชั้นดีใน 20% แรก (ตามหลัก 80-20) แล้วเราจะสามารถสร้างลูกค้าชั้นดีได้อย่างไร นั้นคือ เราจะต้องมีการออกแบบราคาที่สามารถตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าได้ (ออกแบบราคาที่มีหลายระดับขั้น) และต้องมีการให้ความรู้กับลูกค้า (ถ้าลูกค้าไม่ทราบคุณค่าของของนั้นๆ จะตัดสินใจจากราคาเท่านั้น ดังนั้นหากต้องการขายของในราคาที่สูงขึ้นจะต้องให้ความรู้กับลูกค้าเท่านั้น)

[ก็เป็นหนังสือที่น่าอ่านเล่มหนึ่ง]

Comments

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma