ผู้เขียน : Nawata Ryo แปลโดย ประวัติ เพียรเจริญ
ISBN : 978-974-443-531-6
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก : 2010
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
จำนวนหน้า : 257 หน้า
ราคา : 229 บาท
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก : 2010
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
จำนวนหน้า : 257 หน้า
ราคา : 229 บาท
สรุปเนื้อหาสำคัญ
เป็นหนังสือที่อธิบายถึง กลยุทธ์ Lanchester ที่ต้นกำเนิดเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการประเมินในการ ความสามารถในการต่อสู้ อัตราความสำเร็จ และการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในการทางทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 (คศ 1868-1946) โดย F.W. Lanchester โดยในภายหลังจากสงครามได้มีการนำหลักการกลยุทธ์ดังกล่าวมาปรับใช้ในวงการธุรกิจ ซึ่งพัฒนาโดย B.O. Koopman แห่งมหาวิทยาลัย โคลัมเบีย แต่ได้รับการพัฒนา และใช้อย่างแพร่หลายในญึ่ปุนโดย อาจารย์ Taoka Nobuo
หลักการสำคัญคือ เราต้องเลือกรูปแบบ และพื้นที่ที่เราจะทำการต่อสู้ โดยต้องให้เหมาะกับสภาวะ และศักยภาพที่เรามี โดยถ้าเราเป็นผู้นำ กลยุทธ์ที่เราต้องใช้คือ ตามคู่แข่งให้ทัน ในขณะที่ถ้าหากว่าเราเป็นตามกลยุทธ์สำคัญที่เราต้องทำคือ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง
หลักการสำคัญคือ เราต้องเลือกรูปแบบ และพื้นที่ที่เราจะทำการต่อสู้ โดยต้องให้เหมาะกับสภาวะ และศักยภาพที่เรามี โดยถ้าเราเป็นผู้นำ กลยุทธ์ที่เราต้องใช้คือ ตามคู่แข่งให้ทัน ในขณะที่ถ้าหากว่าเราเป็นตามกลยุทธ์สำคัญที่เราต้องทำคือ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง
หลักการวิเคราะห์ 3C
2.) Competitor คือการวิเคราะห์คู่แข่งขัน หรือสภาพการแข่งขัน เช่นมาร์เก็ตแชร์ของแต่ล่ะบริษัท จุดเด่นของแต่ล่ะบริษัท การวางตำแหน่งทางการตลาดของแต่ล่ะบริษัท เป็นต้น
3.) Company คือการวิเคราะห์บริษัทของตัวเอง เช่นวิสัยทัศน์ สภาพปัจจุบันของธุรกิจ ทรัพยากรทางธุรกิจ พนักงาน เงินทุน เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์ กับยุทธวิธี
กลยุทธ์ คือกิจกรรมที่มองด้วยตาไม่เห็น กล่าวคือเป็นการวางแผนการที่จะสามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมต่างๆ โดยการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมที่สุด
ยุทธวิธี คือกิจกรรมที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ วิธีในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้เกิดผลขึ้นจริง
กลยุทธ์สำหรับมือรอง คือการสร้างความแตกต่าง ใช้การมุ่งเล็งไปที่เป้าหมายเดียว และสร้างให้เป็นที่หนึ่งในพี้นที่นั้นๆ
เป้าหมาย และความหมายของระดับ market share
73.9% : เป็นการครอบครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จ มีความมั่นคงสูงมาก ผู้นำตลาดใช้เพียงแค่กลยุทธ์การตามประกบก็เพียงพอ
41.7% : เป็นระดับที่มีเสถียรภาพสูงมาก โดยเป็นตัวเลขที่บริษัทส่วนมากนำไปตั้งเป็นเป้าหมาย
26.1% : เป็นระดับต่ำที่สุดในการมีเสถียรภาพ โดยหากมีระดับ market share ที่ต่ำกว่านี้จะไม่มีความเป็นเสถียรภาพในตลาดแล้ว (เป็นเป้าหมายขั้นต่ำ สำหรับคนที่อยากจะเป็นผู้นำ)
19.3% : เป็นเป้าหมายของผู้ท้าชิงตำแหน่งผู้นำตลาด คือเป็นผู้นำในกลุ่มผู้ตามนั้นเอง
10.9% : เป็นระดับต่ำสุดที่สามารถสร้างผลกระทบโดยร่วมต่อตลาดได้ โดยในระดับ 10% นั้นถือว่าเป็นก้าวแรกของการมีรากฐานที่มั่นคง
6.8% : เป็นระดับเป้าหมายของการคงอยู่ โดยอาจจะนำมาใช้เป็นจุดในการตัดสินใจที่จะอยู่ หรือถอนตัวออกจากธุรกิจก็ได้
2.8% : เป็นจุดชี้วัดของการเข้าสู่ตลาด เป็นจุดต่ำสุดที่ตลาดจะยังคงรับรู้ได้ว่ามีสิ่งนี้อยู่ในตลาด หากเราเข้าสู่ตลาดใหม่ นี้เป็นเป้าหมายที่ต้องไปให้ถึงเพื่อให้ตลาดรับรู้ถึงตัวเรา หากเวลาผ่านไปนานแล้วยังไม่สามารถไปถึงยังจุดนี้ได้ ไม่ว่าจะเพราะอะไรก็ตาม ให้ทบทวนถึงการถอนตัวออกจากธุรกิจ เนื่องจากตลาดไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของเราเลย
หลักในการสร้างความแตกต่างของมือรอง
การสร้างความแตกต่างด้วย "ปรัชญาทางธุรกิจ (วิสัยทัศน์)", "ทรัพยากรบุคคล (ทักษะที่เหนือกว่า)", "การบริการ", "การเลือกพื้นที่ (เจาะลึกในพื้นที่ทางการตลาด)", "ผลิตภัณฑ์"
ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ สำหรับผม
โดยส่วนตัวผมชอบหนังสือเล่มนี้มากครับ เหมาะมากกับคนที่ชอบอ่านหนังสือในแนวกลยุทธ์ธุรกิจ อ่านได้ง่ายไม่น่าเบื่อ ไม่เป็นวิชาการมากเกินไป ได้ให้แนวในการมองเรื่องของส่วนแบ่งตลาดได้ดี ได้เข้าใจถึงการดำเนินกลยุทธ์ของเจ้าตลาด และเบอร์สอง สามได้ดี แนะนำว่าเป็นหนังสือที่ต้องอ่านเลยครับ
ตุลาคม 2557
Comments
Post a Comment