Skip to main content

TOP 7 เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้านาย



คุณอยากจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้านายของคุณใช่หรือไม่ ลองดูคำแนะนำด้านล่างดูนะครับ


   1.) ต้องให้แน่ใจว่าคุณมีเป้าหมายเหมือนกับเจ้านายของคุณ คุณอาจจะต้องมีการพูดคุยกับเจ้านายของคุณเกี่ยวกับสิ่งที่คุณคิดว่าคุณต้องทำ และแน่นอนสิ่งที่คุณคิดว่าคุณไม่ต้องทำด้วย (เพื่อไม่ให้มีการเข้าใจผิดกันเกิดขึ้น)

   2.) ต้องให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจคำถาม หรือคำสั่งของเจ้านายคุณอย่างชัดเจน แน่นอนถ้ามีข้อสงสัยจงอย่าเก็บไว้ สอบถามให้แน่ใจ

   3.) พยายามทำให้งานของเจ้านายคุณง่ายยิ่งขึ้น โดยการเตรียมข้อมูลให้พร้อมที่สุด และพยายามให้ทางเลือกกับเจ้านายของคุณ (ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้เจ้านายของคุณเสมอ)

   4.) จงใส่ใจกับสิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้ ไม่ใช่สิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ จงลงมือในสิ่งที่คุณสามารถที่จะทำได้ และแน่นอนว่าหากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เราก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในปัญหานั้นด้วย (อย่าคิดจะโยนปัญหาให้พ้นตัว)

   5.) เมื่อคุณมีปัญหา จงบอกหัวหน้าของคุณถึงปัญหาที่คุณมีอยู่ อย่าปล่อยปัญหาให้ค้างไว้

   6.) จงเปิดใจให้กว้างเวลาที่หัวหน้าของคุณตำหนิ และอย่าเก็บมาเป็นเรื่องส่วนตัว สิ่งสำคัญที่คุณจะต้องทำเมื่อถูกตำหนิ ไม่ใช่การเถียงกลับ หรือร้องไห้เสียใจ สิ่งที่คุณควรจะทำคือ ตั้งใจฟัง และนำมาปรับปรุงงานของคุณในครั้งต่อไป

   7.) ข้อนี้สำคัญมาก คุณต้องไม่ลืมว่า เจ้านายของคุณก็เป็นคนเหมือนกัน ดังนั้นมันเป็นไปได้ที่เจ้านายของคุณจะมีอารมย์หงุดหงิด หรือเครียด และก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะมาลงเอาที่คุณ ขอให้ทำใจเย็นๆไว้ นึกอยู่เสมอว่าเจ้านายก็เป็นคนเหมือนกันกับเรา (จำได้มั้ยเราเองก็มีช่วงอารมย์วีนเหมือนกันบางครั้ง)


ที่มา http://quickbase.intuit.com/blog/2012/05/07/12-ways-to-make-your-boos-love-you

Comments

  1. This comment has been removed by a blog administrator.

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก...

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3...

แผนภาพวาดให้เป็น เก่งนำเสนอ

ผู้เขียน  :  Yamda Masao แปลโดย ประวัติ เพียรเจริญ ISBN  :  978-974-443-460-9 ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2012 จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. จำนวนหน้า  :  272 หน้า ราคา  :  220 บาท สรุปเนื้อหาสำคัญ    หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นหนังสือที่สอนวิธีการวาดภาพ แต่เป็นหนังสือที่สอนให้ใช้รูปภาพ (หมายถึง แผนภูมิ, กราฟ และตารางต่างๆ) เพื่อใช้ในการนำเสนอสิ่งต่างๆ ความคิดเห็น ข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้คนอ่านสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะความคิดของแต่ล่ะคนไม่เหมือนกัน การนำเสนอความคิดด้วยภาพจึงมีความสำคัญมาก  "ความคิดถึงแม้จะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ ก็ไร้ประโยชน์"    โดยมีการแยกสัดส่วนของเนื้อหาได้ดี มีการสรุปเป็นหัวข้อๆ ให้เข้าใจได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ  สารที่ต้องการสื่อออกไป เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดออกไปให้ชัดเจน และเรียยเรียงอย่างมีระบบ รูปแบบ หรือกรอบความคิดที่จะใช้สำหรับสื่อสาร "สาร" ออกไป เช่นเป็นตารางข้อมูล เ...