Skip to main content

ธุรกิจส่วนตัว SMEs คุณทำได้



ผู้เขียน  :  วีรวุธ มาฆะศิรานนท์
ISBN  :  978-974-414-189-7
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2011
จัดพิมพ์โดย  :  ExpernetBooks
จำนวนหน้า  :  170 หน้า
ราคา  :  165 บาท



สรุปเนื้อหาสำคัญ
   หนังสือได้ให้แนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการจะประกอบอาชีพส่วนตัว โดยเน้นไปทาง SMEs 


คุณสมบัติที่ต้องการสำหรับ SME 7 ประการ
๑.  แรงผลักดัน ที่ต้องการจะประสบความสำเร็จอย่างแรงกล้า
๒.  ภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ต้องมีหลักการ ต้องมีระบบ
๓.  การเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องอย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว ต้องพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา
๔.  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต้องอย่ายึดติดกับสิ่งเดิมๆ ต้องแสวงหาโอกาสใหม่ๆเสมอ
๕.  มนุษยสัมพันธ์ และทักษะการสื่อสาร คือต้องมีการสื่อสารที่ดีให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจในสื่งที่เราต้องการเสนอได้
๖.  ทักษะในการแกปัญหา และตัดสินใจ
๗.  ทักษะการบริหารเวลา เนื่องจากต้องทำงานหลากหลายอย่างพร้อมๆกัน ดังนั้นผู้ที่บริหารเวลาได้ดีกว่า ก็ย่อมที่จะสามารถทำงานให้สำเร็จได้มากกว่า

แนะนำธุรกิจที่มาแรง (7 Es)
Education  ธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา และการเรียนรู้
Entertainment  ธุรกิจเกี่ยวกับความบันเทิง พักผ่อนหย่อนใจ สวนสนุก หรือเครื่องเล่นต่างๆ
Enriched Food  ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ
Electronics  ธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
Energy  ธุรกิจที่เกียวข้องกับพลังงาน
E-Business  ธุรกิจที่ทำบนอินเตอร์เน็ต
Environment  เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เทคนิควิธีการเลือกธุรกิจไม่ให้ผิดทาง
๑.  ความน่าสนใจของธุรกิจ

  • ขนาดของตลาด มีตลาดกว้างพอหรือไม่
  • ความเข้มข้นของการแข่งขัน มีการแข่งขันรุนแรงมากหรือไม่ คู่แข่งมีมากหรือไม่
  • อัตราการเติบโตของตลาด ยังมีโอกาสที่ตลาดจะโตขึ้นหรือไม่
  • ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  • มีกฏหมายควบคุมหรือไม่
  • ความอ่อนไหวต่อราคามีมาก หรือไม่
๒.  ความสามารถของตัวเราเอง
  • เรามีเงินทุนมากเพียงพอหรือไม่
  • เรามีทักษะที่เกี่ยวข้องเพียงพอหรือไม่
  • เราสามารถให้บริการลูกค้าได้ดีหรือไม่
  • เราสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าได้หรือไม่
  • เราสามารถแข่งขันได้มากน้อยเพียงใด
  • เราสามารถที่จะทำกำไรจากธุรกิจนี้ได้มาก น้อยเพียงใด

ต้องศึกษาสิ่งที่เราจะลงมือทำให้ดี แต่ที่สำคัญคือต้องลงมือทำ และเรียนรู้ปรับเปลี่ยนกันไปให้เหมาะกับสถานการต่างๆ

[เป็นหนังสือที่ต้องอ่านเลยครับ สำหรับคนที่ทำ หรือจะทำธุรกิจส่วนตัว]

Comments

Popular posts from this blog

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3 หรือไม่อย่างไร 5.)  Promotion (ส่งเสริมกา

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก Activity ข้ึนมาแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบได้

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่นเท่านั้น (โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด) โดยใช้การสร้าง gmail ใหม่เข้าไปในเครื่องแล้วลบ gma