Skip to main content

มิติของลำดับงาน

มิติของลำดับงานเป็นภาษาไทย ที่ฟังแล้วนึกแทบไม่ออกเลยว่าคืออะไร ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าจะอธิบายอย่างไรให้สามารถเข้าใจกันได้ง่ายๆ ก็เลยคิดว่าดูรูปดีกว่า น่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ



โดยหลักการคือ จงแยกงานตามความสำคัญ และความเร่งด่วน แล้วจงพยายามเลือกทำแต่งานที่มีความสำคัญ (ข้อ ๑ และ ๒ เท่านั้น) ฟังดูง่าย ทำจริง แทบจะเป็นไปไม่ได้ เฮ้ออออ

ความหมายของช่องแต่ล่ะช่อง
ช่องที่๑  งานสำคัญ และเร่งด่วน
       งานประเภทนี้ คืองานที่เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ต้องทำเดียวนี้ช้าไม่ได้ เป็นงานที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ จึงไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากรีบลงมือทำซะ โดยบางงานอาจจะพัฒนาตัวเองจากงานในช่องที่๒ มาอยู่ในช่องที่๑ นี้ก็เป็นไปได้

ช่องที่๒ งานสำคัญ ที่ยังไม่เร่งด่วน
       งานประเภทนี้เป็นงานที่เราควรจะต้องลงมือทำเสียตั้งแต่ยังมีเวลา เป็นงานแห่งการบริหารอย่างแท้จริง เป็นการสะท้อนความมีประสิทธิภาพในการทำงานของคนนั้นๆ แต่น่าเสียดายเนื่องจากเป็นงานที่ไม่เร่งรีบ หลายๆครั้งเราจึงไม่สนใจที่จะทำมัน โดยจะผัดผ่อนเลื่อนงานออกไปเรื่อยๆ จนหลายๆครั้งกลายเป็นปัญหาใหญ่โต ลุกลามเกินกว่าที่จะควบคุมได้

ช่องที่๓ งานที่ไม่สำคัญ แต่เร่งด่วน
       งานในกลุ่มนี้มักเป็นงานที่สามารถปฎิเสธได้ง่ายๆ แต่ก็มักจะไม่ค่อยได้ปฎิเสธออกไป เช่น การเข้าประชุมด่วน ที่ไม่มีเรื่องสำคัญอะไร การที่เพื่อนร่วมงานเข้ามาคุยเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน ต่างๆเหล่านี้

ช่องที่๔ งานที่ไม่สำคัญ และไม่เร่งด่วน
       งานกลุ่มนี้มักเป็นงานที่ไร้สาระ ทำตามอารมณ์ ไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายหรืออะไรใดๆเลย งานแบบนี้ต้องไม่ทำ



ผมได้แรงบันดาลใจจาก  "Effective Time Management  ;  ETM"

Comments

  1. นี่คือประกาศสาธารณะสำหรับทุกคนที่ต้องการขายไตเรามีผู้ป่วยที่ต้องการการปลูกถ่ายไตดังนั้นหากคุณสนใจที่จะขายไตโปรดติดต่อเราทางอีเมลของเราที่ iowalutheranhospital@gmail.com
    นอกจากนี้คุณยังสามารถโทรหรือเขียนถึงเราได้ที่ whatsapp ที่ +1 515 882 1607

    หมายเหตุ: รับประกันความปลอดภัยของคุณและผู้ป่วยของเราได้ตกลงที่จะจ่ายเงินจำนวนมากให้กับทุกคนที่ตกลงที่จะบริจาคไตเพื่อช่วยพวกเขา เราหวังว่าจะได้ยินจากคุณเพื่อให้คุณสามารถช่วยชีวิต

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular posts from this blog

ส่วนประกอบของ android แอพพลิเคชัน (Android Application Component)

    ส่วนประกอบของ แอพพลิเคชัน (Application Component) สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ ๑. Activity (User Interface)  คือ สิ่งท่ีใช้ในการแสดงผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็น และได้ใช้งานโดย แต่ละแอปพลิเคชนััน อาจจะมีActivity เดียว หรือหลายๆ Activity และส่ิงที่อยู่ใน Activity นั้นจะเรียกว่า View ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น button, text field, scroll bars, menu items, check boxes และอื่นๆ ๒. Service (Service Provider)  เป็นส่วนที่ไม่มีการแสดงผลแต ถูกเรียกใช้ให้ รันอยู่ในลักษณะของ background process โดย service นั้นอาจจะมีการกระทำ อะไรบางอย่าง เช่น ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย หรือคำนวณค่าต่างๆ แล้วทำการส่งข้อมูลไปแสดงยัง Activity ก็ได้ หรือการเปิดเพลงในขณะที่เรากำลังทำงานบน แอพพลิเคชั่นอื่น ๓. Broadcast receiver (DataProvider)  คือ ตัวที่ใช้สำหรับคอยรับและตอบสนองต่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึน เช่น เมื่อแบตเตอรี่ต่ำ ,การเปล่ียนภาษา, มีการโทรออก, มีข้อความเข้าและอื่นๆ ถึงแม้ broadcast receiver จะไม่มีส่วนของการแสดงผลแต่ก็สามารถที่จะเรียก...

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด

หลักการ 5P ส่วนผสมทางการตลาด หลักการ 5P เป็นหลักการทางด้านการตลาด (จริงๆแล้วมันก็เป็นการขยาย 4P ที่ทุกคนรู้จักกันดีแล้วนั้นเอง) แต่มีการนำมาขยายความในส่วนต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 1.)  Product / Service (ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ)  :  สินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร มุ่งตอบสนองความต้องการหรือช่วยแก้ปัญหาอะไร ทำไมผู้บริโภคถึงต้องการสินค้าของคุณ 2.)  Person (ใคร)  กลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร โดยควรระบุรายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่น อายุ เพศ กำลังซื้อ เพื่อให้สามารถระบุเป้าหมายให้ได้ชัดเจนที่สุด 3.)  Price (ราคา)  มีการกำหนดราคาของสินค้าและบริการไว้อย่างไร มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ 1 และ 2 หรือไม่อย่างไร และคุณวางตำแหน่งสินค้าของคุณไว้ ณ ตำแหน่งไหนของตลาด เป็นของ แบบกลางๆจะได้รับความสนใจหรือไม่ หรือควรเป็นสิ่งที่มีตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจนเช่น ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เล็กที่สุด เร็วที่สุด เป็นต้น 4.)  Place (สถานที่)  กลุ่มลูกค้าของคุณจะสามารถเข้าถึง สินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร ทางไหน มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่ 2 และ 3...

วิธีการเปลี่ยนบัญชี gmail การลบบัญชี gmail สำหรับ android

การเปลี่ยน gmail สำหรับมือถือ android เป็นปัญหาชวนปวดหัวของเราหลายๆคน ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมือถือ หรือไม่ต้องการใช้ gmail หลักของเราไปผูกกับมือถือ android ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี gmail ไปผูกไว้ในเครื่องเสมอ    วันนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการในการแก้ gmail ที่ผูกไว้กับเครื่องออกมา โดยสามารถทำได้หลายวิธีตามแต่ความประสงค์ของผู้นำไปใช้ครับ (วิธีการ และผลกระทบย่อมต่างกันออกไปตามแต่ละวิธีครับ) 1.)  เป็นวิธีที่เป็นทางการที่สุดในการแก้ gmail ที่ผูกไว้คือ การทำ Factory Reset  ผลที่จะได้รับคือ เครื่องจะแก้ค่าต่างๆ กลับไปเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตของมันคือ ตอนที่มันออกมาจากโรงงาน gmail, app ต่างๆจะถูกลบไปหมด แน่นอน ข้อมูล รูปภาพใดๆ ที่มีในเครื่องก็จะหายไปหมดด้วย วิธีการ  :  ให้ไปที่   Menu  -->  Setting  -->  Privacy  -->  Factory data reset  รอสักครู่ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย คำแนะนำ  :  ต้องทำการสำรองข้อมูล (backup data) ที่จำเป็นทั้งหมดไว้ก่อน เพราะจะถูกลบและเรียกคืนไม่ได้ 2.)  เป็นวิธีการที่ได้ผลกับแค่บางรุ่น...